ความสำคัญ
หลาดใต้โหนด หรือที่เรียกกันว่า "ตลาดใต้โหนด” เป็นตลาดนัดพื้นบ้านสีเขียวที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เป็นตลาดที่สร้างความสุขและมิตรภาพกลับคืนสู่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน "หลาดใต้โหนด” ก่อเกิดขึ้น ณ บ้านเกิดของคุณกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี ๒๕๓๙ โดยได้เริ่มจากจุดเล็กๆ หวังแค่เพียงให้บ้านหลังนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เป็นสถานที่อ่านหนังสือสุดเงียบสงบของเด็ก ๆ และชาวบ้านในหมู่บ้าน พร้อมทั้งเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านศิลปะ แต่ต่อมาได้มีโครงการตลาดท้องถิ่นซึ่งให้ชาวบ้านในพื้นที่นำสินค้าปลอดสารพิษพร้อมทั้งอาหารพื้นเมืองมาจำหน่าย แรกเริ่มนั้น มีร้านค้าเพียงไม่กี่สิบร้าน แต่ปัจจุบันมีร้านค้ามากเกือบ ๑๐๐ ร้าน โดยมีการจำหน่าย ผักสด ผลไม้สดอาหารพื้นเมือง และขนมพื้นเมืองที่หารับประทานได้ยาก รวมทั้งสินค้าแฮนด์เมคอันเป็นเอกลักษณ์ โดยอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ กินดี มีสุข ซึ่งจะสอดคล้องไปกับวิถีชีวิตภูมินิเวศน์ ป่า นา เล ของชาวใต้
ได้อย่างสมบูรณ์
คำว่าใต้โหนด เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง ตาลโตนด เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จากที่นาเล็ก ๆ ของพ่อนักเขียนกวีซีไรต์ ปี ๒๕๓๙ คุณกนกพงศ์ สงสมพันธ์ ได้ปลูกต้นตาลไว้ตามคันนา ต่อมาลูก ๆ ได้พัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะจัดกิจกรรมของชุมชุม เริ่มจากกิจกรรมด้านวรรณกรรม ดนตรี โดยการรวมตัวของกลุ่มเพื่อนๆ เครือข่ายศิลปิน หลังจากคุณกนกพงศ์ สงสมพันธ์ ได้เสียชีวิต ครอบครัวสงสมพันธ์มีแนวคิดในการสืบสานเจตนารมย์โดยจัดพื้นที่แห่งนี้เป็นห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์แสดงผลงานของคุณกนกพงศ์ สงสมพันธ์ มีมุมอ่านหนังสือ ร้านกาแฟ พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น หนังตะลุง โนรา โดยมีกัลยาณมิตรมาช่วยสอนศิลปะและดนตรีให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชน ปี พ.ศ. 2๒๕๕๘ ได้มีแนวคิดการจัดตลาดเกิดโดยเชิญชวนชาวบ้านเก็บผักข้างบ้าน พืชผักท้องถิ่น อาหารท้องถิ่น นำมาขายในตลาด แต่เวลาผ่านไปไม่นานตลาด
ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นที่รวมตัวของคนในชุมชน จำหน่ายวัตถุดิบพื้นบ้าน อาหารพื้นเมืองและขนมพื้นเมืองที่หาทานได้ยาก รวมทั้งสินค้าทำมือที่เป็นเอกลักษณ์ ร้านที่มาขายในตลาดมีประมาณ ๑๕๐ ร้าน โดยเน้นลดมลภาวะไม่ใช้สารกันบูด ไม่ใช้สารฆ่าแมลง เป็นตลาดสีเขียวที่ไม่ใช้โฟมหรือถุงพลาสติกมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากให้ความสนใจเข้ามาเยี่ยมชมและซื้อผลผลิตในท้องถิ่น สิ่งที่ทำให้ตลาดใต้โหนดแตกต่างจากตลาดชุมชนที่อื่น ๆ ก็คือการตกแต่งร้านและพื้นที่ของตลาด ที่เน้นใช้วัสดุธรรมชาติมาดัดแปลงออกแบบให้มีความทันสมัย พร้อมทั้งยังให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการคิดค้นภาชนะใส่สินค้า โดยจะต้องนำวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นที่มีอยู่มารังสรรค์ให้กลายเป็นภาชนะสุดเก๋ลดใช้โฟมและพลาสติก เปิดเฉพาะวันอาทิตย์ เวลา ๐๘๐๐-๑๕.๐๐ น.
จุดเด่น
๑.ป็นแหล่งเรียนรู้การบริการจัดการตลาดท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้
การทำงานฝีมือจากกะลามะพร้าว การมัดย้อมจากสีธรรมชาติ สานกระจูด
และกระเป๋าจากต่อหมาก
๒. เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านศิลปะ ความเป็นวิถีชีวิตพื้นบ้านหรือวิถีชีวิตแบบ Slow life
๓. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ และการทำปุ๋ยอินทรีย์
การเดินทาง
เดินทางจากศาลากลางจังหวัดพัทลุง โดยใช้ถนนหมายเลข ๔๐๔๘ ไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๑๘.๕ กิโลเมตร ถึงสี่แยกโพธิ์ทองเลี้ยวซ้ายใช้ถนนหมายเลข ๔๑๖๔ ประมาณ ๓ กิโลเมตร ระยะทางรวมทั้งสิ้น ๒๒ กิโลเมตร