องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว ตำบลบ่อแก้ว อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกห่างจากอำเภอบ้านม่วงระยะทาง 4.5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดสกลนคร 120 กิโลเมตร บ้านที่อยู่ใกล้ตัวอำเภอบ้านม่วงมากที่สุดคือบ้านหว้าน หมู่ที่ 5 ระยะทาง 2 กิโลเมตร บ้านที่อยู่ไกลอำเภอมากที่สุด คือ บ้านคำภูทอง มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโนนสะอาด อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลกุดเรือคำ อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลนาแต้ อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลม่วง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
เนื้อที่และภูมิประเทศ
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว มีพื้นที่ทั้งหมด 88.93 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 55,581 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 24,619 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลบ่อแก้วมีสภาพพื้นที่เป็นลักษณะลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่จะสูงด้านทิศตะวันออกลาดต่ำมาทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ราบและราบลุ่มบางส่วนเกษตรกรใช้ทำนา ส่วนด้านทิศตะวันออกเป็นที่สูงนั้นเป็นต้นกำเนิดของลำห้วยต่างๆ สายสั้นๆ และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เช่น ห้วยบง (บ้านสรศรี) ห้วยมะเขือ ห้วยหว้าน (บ้านหว้าน) ห้วยคำผักหนาม (บ้านบ่อแก้ว) ห้วยน้ำซับคำโรงสี (บ้านลืมบอง)
ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลบ่อแก้วมีภูมิอากาศเป็นแบบร้อนแห้งแล้ง มี 3 ฤดูกาล ดังนี้
- ฤดูหนาว เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นมากในเดือนมกราคม สภาพอากาศแห้งแล้ง
- ฤดูร้อน เริ่มจากเดือนมีนาคม – เมษายน สภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง
- ฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ฝนตกมากในเดือนสิงหาคม
จำนวนหมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้วมีหมู่บ้านทั้งหมด 14 หมู่บ้าน ได้แก่
1. หมู่ที่ 1 บ้านบ่อแก้ว
2. หมู่ที่ 2 บ้านดงมะไฟ
3. หมู่ที่ 3 บ้านลึมบอง
4. หมู่ที่ 4 บ้านสร้างแก้ว
5. หมู่ที่ 5 บ้านหว้าน
6. หมุ่ที่ 6 บ้านหนองลุมพุก
๒
7. หมู่ที่ 7 บ้านคำภูทอง
8. หมู่ที่ 8 บ้านสรศรี
9. หมู่ที่ 9 บ้านท่างาม
10. หมู่ที่ 10 บ้านอ่างคำค้อ
11. หมู่ที่ 11 บ้านหว้าน
12. หมู่ที่ 12 บ้านหนองแคน
13. หมู่ที่ 13 บ้านสรศรี
14. หมู่ที่ 14 บ้านบ่อแก้ว
วิสัยทัศน์
“ตำบลน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม ก้าวล้ำการศึกษา เด่นการกีฬา ต้านยาเสพติด”
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้วตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562)
1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา67 ดังนี้
1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูล ฝอยและสิ่งปฏิกูล
3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ ประชาชน รวมทั้งการ จัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทาง ที่เสนอแนะจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทาง การศึกษา
๓
6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8) บำรุงรักษาศิลปะ จำรีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและ สมควร