ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 13' 58.971"
14.2330475
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 20.3308"
100.0723141
เลขที่ : 49892
วัดสองพี่น้อง
เสนอโดย ว่าที่ ร.ต.สุพัฒน์ หอมสุวรรณ วันที่ 31 มีนาคม 2554
อนุมัติโดย สุพรรณบุรี วันที่ 7 ธันวาคม 2564
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 716
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

วัดสองพี่น้อง สันนิษฐานว่าสร้างใน พ.ศ. ๒๒๑๒ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ประวัติของวัดพบในจารึกเจ้าแม่ดุสิตเป็นชาวสุพรรณบุรี พูดถึงอาจารย์พิรอด หรืออาจารย์คง ซึ่งต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงนิมนต์ไปอยู่กรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานสำคัญที่ค้นพบประกอบด้วยแผ่นจารึกลานเงิน ลานทอง ถูกค้นพบเมื่อครั้งบูรณะซ่อมแซมเจดีย์ ๓ องค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันออก หน้าอุโบสถวัดสองพี่น้องและได้รับการแปลจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาพโบราณจากกรมศิลปากรในเนื้อความของจารึกเป็นส่วนหนึ่งของพระอภิธรรม และทำให้ทราบว่าผู้สร้างเจดีย์ ๓ องค์ คือ เจ้าสามอู ส่วนจารึกในลานเงิน ลานทอง เป็นอักขระที่ใช้กันในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ หลักฐานชิ้นที่สอง คือ หนังสือพิมพ์แจกในงานฌาปนกิจพระอธิการแก้ว แห่งวัดใหม่นพรัตน์ จากหลักฐานทั้ง ๓ อย่าง สรุปได้ว่าตั้งแต่
พระพิรอด หรือขรัวตาคง ได้ตั้งวัดสองพี่น้องขึ้นในราว พ.ศ. ๒๒๑๒ ที่มาของชื่อ “สองพี่น้อง” เล่าสืบกันมาว่ามีช้างสองเชือกมาจากพุม่วงในอำเภออู่ทอง ซึ่งเป็นที่อาศัยของช้างของพระมหากษัตริย์ ทางเดินที่ช้างเดินย่ำเป็นที่ลุ่มจนกลายเป็นคลองเรียกว่า “คลองสองพี่น้อง” วัดสองพี่น้องได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕

สถานะและที่ตั้ง

วัดสองพี่น้อง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๕๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีที่ดินตั้งวัด ๓๙ ไร่ ๒ งาน

สิ่งสำคัญในพระอาราม

พระอุโบสถ ขนาดกว้าง ๘.๐๒ เมตร ยาว ๑๙.๐๘ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทยตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย หลังคามุงกระเบื้องขึ้นลายมีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันเป็นไม้แกะสลัก
บูรณะเพิ่มเติม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๓๐ เมตร

พระพุทธรูปปางไสยาสน์(พระนอนใหญ่) ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย

พระพุทธรูปอายุ ๑๐๕ ปี เนื้อสำริดสีทอง นั่งขัดสมาธิแบบเข่าซ้อน เข่าเป็นรูปสี่เหลี่ยม
สูง ๑.๒๒ เมตร กว้าง ๙๖ เซนติเมตรพระนามว่าพระเจ้าปิดเคราะห์

พระพุทธรูป พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอนใหญ่) ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย กว้าง ๑.๘๐ เมตร
ยาว ๑๐.๐๕ เมตร

วิหารพระพุทธไสยาสน์ ขนาดกว้าง ๖.๕ เมตร ยาว ๑๙.๐๘ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
มีลักษณะแบบโบราณหน้าบันมีขนาดใหญ่

ปัจจุบัน พระปริยัติวรคุณ (สมชาย ทตฺตชีโว ) เป็นเจ้าอาวาส

บรรณานุกรม ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๑. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดสองพี่น้อง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสุรเชษฐ์ พูลนาผล อีเมล์ spbcul@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี อีเมล์ suphanburi@m-culture.go.th
ถนน สุพรรณบุรี-ชัยนาท
จังหวัด สุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000
โทรศัพท์ 035-536058 โทรสาร 035-536045
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/suphanburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่