พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ. ธิดาเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวงและเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ มีพระกนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์) และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส (พระนามเดิม:พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ ต้น ราชสกุลสุริยง) พระองค์นับเป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพระมารดาของพระองค์กับพระมารดาของพระนางเจ้าสุวัทนาเป็นพี่น้องกันซึ่งจังหวัดภูเก็ตสร้างพลับพลาที่ประทับพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ สวนสาธารณะสะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ตประวัติความเป็นมาของพลับพลาที่ประทับฯ แห่งนี้ เดิมเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 นาวาเอก (พิเศษ) สมารมภ์ บุนนาค หนึ่งในพระประยูรญาติเจ้าจอมมารดาโหมด ในพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ประสานกับจังหวัดภูเก็ต โดยปลัดจังหวัดภูเก็ตในขณะนั้น คือ นายณรงค์ แสงสุริยงค์ ร่วมกับสมาชิกชมรมนาวีภาคใต้ตะวันตก และประชาชนชาวภูเก็ต มีมติให้สร้างพลับพลาที่ประทับเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ บริเวณสะพานหินแห่งนี้ ซึ่งเป็นบริเวณที่เทศบาลเมืองภูเก็ตได้ทำการถมทะเล และได้รับการสนับสนุนจากภาคราชการ และภาคเอกชนต่างๆ เช่น กองทัพเรือ กรมอู่ทหารเรือ เทศบาลเมืองภูเก็ต กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังต่อมา ในวันที่ 19 ธันวาคม 2529 ได้เริ่มจัดให้มีพิธีบวงสรวงองค์พระอนุสาวรีย์ และรับเสด็จประทับในพลับพลาที่ประทับฯ ดังกล่าว จนถึงปัจจุบันซึ่งคณะกรรมการบูรณะได้ดำเนินการจัดพิธีเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา รวมเป็นเวลา 29 ปีอย่างต่อเนื่องคณะกรรมการบูรณะพลับพลาที่ประทับฯ ได้รับการแต่งตั้งได้กำหนดแผนงานบูรณะพระปรางค์เพื่อให้มีความสง่างามสมพระเกียรติ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2558 เป็นต้นมา โดยได้มีการจัดตั้งกองทุนบูรณะพลับพลาที่ประทับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการบูรณะจากผู้มีจิตศรัทธา ประกอบด้วย หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และพี่น้องประชาชนในจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดียิ่ง สำหรับอาคารพลับพลาที่ประทับ และอาคารพระประวัติแห่งนี้ได้รับการออกแบบโดยโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 10 ล้านบาท