ประวัติความเป็นมา
รำโทนเป็นการแสดงพื้นบ้าน เริ่มมีการแสดงตั้งแต่เมื่อไรไม่ทราบแน่ชัด แต่มี การแสดง
แพร่หลายทั่วไปที่จังหวัดลพบุรีในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประชาชนเกิดความเครียด จึงมีการร้องเพลงรำโทนเพื่อให้เกิดความสนุกสนานร่าเริงบ้าง เพราะในช่วงสงครามห้ามทำกิจกรรมต่างๆ จึงเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มระหว่างญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ผึกหัดรำโทนกันเรื่อยมา
จำนวนผู้แสดง
จำนวนนักแสดงในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน แล้วแต่ความพร้อมของผู้แสดง ไม่มีการกำหนดที่แน่นอน
วิธีการแสดง
วิธีการแสดงไม่มีรูปแบบที่แน่นอนเช่นกัน แล้วแต่ผู้ร้องผู้รำจะสะดวก มีทั้งรูปแบบรำเป็นคู่
ชาย-หญิง และรำเป็นวงกลมเดินต่อๆ กันไป ปนกันไปทั้งชาย-หญิง-เด็ก
เครื่องแต่งกายของนักแสดง
แต่งกายตามวิถีชีวิตของตนเอง ส่วนใหญ่แต่งกายแบบไทยๆ ผู้หญิงนุ่งผ้าถุง นุ่งโจงกระเบน
ใส่เสื้อแบบไทย เสื้อลายดอก เสื้อประจำชาติพันธ์ ผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว ใส่เสื้อคอกลมลาดดอก ไม่มีเอกลักษณ์ที่แน่นอนเครื่องดนตรีเครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดงรำโทนมีทั้ง ๔ ชนิด คือ โทน(รำมะนา) ฉิ่ง กรับ และฉาบเล็ก ในแต่ละพื้นที่ใช้เครื่องดนตรีแตกต่างกันไป บางแห่งใช้โทนอย่างเดียว แต่ใช้ ๓-๔ ลูก และใช้การปรบมือเป็นการใช้จังหวะ
บทเพลง
บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงรำโทนมีมากกว่า ๑๐๐ เพลง เป็นบทเพลงที่มีมาแต่ดั่งเดิม
บ้างเป็นเพลงที่แต่งเนื้อร้อง-ท่ารำขึ้นมาใหม่บ้าง เพลงต่างๆ ที่ใช้ร้อง ใช้วิธีจดจำและถ่ายทอดกันต่อๆ มา ไม่มีการจดบันทึก เนื้อเพลงจึงแตกต่างไปตามแต่ความต้องการของผู้ร้อง คือ พ่อเพลง แม่เพลงหรือผู้ร่วมแสดงคือ ผู้รำ ส่วนใหญ่ผู้รำก็จะร้องเพลงได้เกือบทุกเพลง เนื้อเพลง บทเพลงก็นำมาจากวรรณคดีบางเรือง เช่น ลักษณวงศ์ ไกรทอง รามเกียรติ เป็นต้น นอกจากนี้เพลงบทเพลง ก็มีเนื้อร้องให้รักชาติ เกี่ยวข้องท้องถิ่น แต่ที่พบมากที่สุดก็เป็นเนื้อเพลงเกี่ยวกับความรัก การเกี้ยวพาราสีของพวกหนุ่มสาวท่ารำท่ารำ จะเป็นท่ารำตามเนื้อเพลงซึ่งแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับรำวงมาตรฐานในปัจจุบันโอกาสที่แสดงการแสดงรำโทนนี้ จะใช้แสดงในงานรื่นเริงได้ทุกโอกาส เช่น งานตรุษสงกรานต์ งานบวชนาค งานแต่งงาน งานลอยกระทง งานแงเรือ และงานประเพณีอื่นๆ แต่ปัจจุบันมีการแสดงรำโทนลดน้อยลง จะเหลือแต่งานตรุษสงกราน เท่านั้นที่เป็นการแสดงในท้องถิ่นของตน แต่ยังมีการแสดงรำโทนของบางคณะ ที่จะได้รับเชิญไปแสดงในเทศกาลต่างๆ โดยหน่วยหน่วยงานราชการและสถานศึกษา เพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน และเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา เพื่อช่วยกันสืบสานต่อไประยะเวลาที่ใช้ในการแสดง ระยะเวลาที่ใช้ในการแสดงไม่มีกำหนดแน่นอน เพราะเป็นการแสดงเพื่อความสนุกสนาน ผู้แสดงจะแสดงกันไปเรื่อยๆ การถ่ายทอดศิลปะการแสดงรำโทนดั่งเดิมเป็นการสอนกันในหมู่เครือญาติ เพื่อนๆ ทั้งผู้สูงอายุและหนุ่มสาว ไม่มีการถ่ายทอดที่เป็นระบบแบบแผน แต่จะมีการสอนเมื่อมีการแสดง ในปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลปากจั่น ร่วมกับครูภูมิปัญญา สภาวัฒนธรรมตำบลปากจั่น สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ/จังหวัด ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสาน มีการฝึกสอน ถ่ายทอด ให้ เยาวชน และประชาชนที่สนใจ ในพื้นที่ ความนิยมของประชาชน ปัจจุบันการรำโทน ได้รับความนิยมน้อยลง การแสดงในโอกาสต่างๆ ก็น้อยลงไปด้วย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แทบจะไม่มีเลย ระยะหลังมีการฝึกสอน ถ่ายทอด และจากการไปแสดงสาธิต ในที่ต่าง ทำให้เยาวชนในพื้นที่สนใจและเข้ามาร่วมกิจกรรมมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจของคณะผู้แสดง การแสดงรำโทน ไม่สามารถนำรายได้จากการแสดงมาใช้เป็นรายได้หลักในการดำรงชีวิตได้ เพราะไม่เป็นที่นิยมของผู้ชม จะมีโอกาสแสดงก็ต่อเมื่อมีผู้เชิญให้ไปแสดงในโอกาสต่างๆ ซึ่งก็ได้รับค่าตอบแทนไม่แน่นอน สถานที่ในการแสดง สถานที่ที่ใช้ในการแสดงรำโทน ส่วนใหญ่เป็นบริเวณชุมชน ลานบ้าน ลานวัด หรือแม้แต่ในเรือ จึงไม่ต้องเตรียมสถานที่มากในแสดง
โดย วัฒนธรรมอำเภอนครหลวง