ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 54' 32.1581"
7.9089328
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 20' 0.5136"
98.3334760
เลขที่ : 89846
กิมซิ้น
เสนอโดย admin group วันที่ 2 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย ภูเก็ต วันที่ 2 มิถุนายน 2554
จังหวัด : ภูเก็ต
0 319
รายละเอียด
กิมซิ้น เป็นภาษาฮกเกี้ยน แปลว่ารูปพระจีน (เทวรูป) ประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดภูเก็ตเป็นคนไทยเชื้อสายจีน และได้สืบทอดวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษชาวจีนมา ในเรื่องของการเคารพสิ่งสักศักดิ์ เทวดา (ยกอ่องส่องเต่หรือถี่ก๋ง) และประกอบกับในอดีตมีคณะงิ้ว (ปั่วฮี่) เข้ามาเปิดการแสดงที่อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากกะทู้ในสมัยนั้นมีลักษณะเป็นป่าทึบและห้อมล้อมไปด้วยหุบเขา จึงเป็นที่เพาะพันธุ์และแพร่กระจายของสัตว์ป่า ชาวกะทู้จึงป่วยเป็นโรคระบาดกันจำนวนมาก แต่เมื่อชาวงิ้วเข้ามาแสดงที่กะทู้ได้ไม่นาน ก็เกิดโรคระบาดขึ้นกับคณะงิ้ว ชาวคณะงิ้วจึงนึกขึ้นได้ว่าตนไม่ได้ประกอบพิธีกินผัก ถ้าจะเดินทางไปร่วมพิธีที่จีนก็คงไม่ทัน จึงตัดสินใจประกอบพิธีกินผักขึ้นอย่างง่าย ๆ ที่โรงงิ้ว เมื่อได้ประกอบพิธีกินผัก โรคระบาดของคณะงิ้วก็หายไป ทำให้ชาวกะทู้เกิดความประหลาดใจและเกิดความเชื่อในพิธีกินผัก จึงได้นำเอาพิธีกินผักที่ชาวคณะงิ้วแนะนำไปปฏิบัติกัน หลังจากนั้นไม่นานโรคระบาดของชาวกะทู้ก็หายไป ชาวกะทู้จึงประกอบพิธีถือศีลกินผักมาจนถึงปัจจุบัน และก่อนที่คณะงิ้วจะเดินทางไปแสดงที่อื่นได้มอบ “กิมซิ้น” ไว้ให้ชาวกะทู้ได้เคารพบูชาและประกอบพิธีกรรมเป็นจำนวน ๓ องค์ ได้แก่ เตี้ยนหู้หง่วนโส่ย (เล่าเอี๋ย) ซึ่งเทพแห่งศิลปการแสดงงิ้ว องค์ที่สองคือส่ามหู้อ่องเอี๋ย ซึ่งเป็นมือขวาของเล่าเอี๋ย และองค์ที่สามคือ ส่ามไท้จือ (นาจา) ชาวฮกเกี้ยนนิยมเรียกกันว่า ลี้โลเชี้ย จากความเชื่อและความเป็นมาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของกิมซิ้นในจังหวัดภูเก็ต ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า แทบจะทุกบ้านที่เป็นคนไทยเชื่อสายจีนจะต้องมีกิมซิ้นหรือรูปพระจีนไว้สักการะบูชา
หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
ถนน วิชิตสงคราม
ตำบล กะทู้ อำเภอ กะทู้ จังหวัด ภูเก็ต
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่