ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 12' 14.9706"
6.2041585
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 3' 50.035"
102.0638986
เลขที่ : 99544
นายสะมะแอ มามะ
เสนอโดย นราธิวาส วันที่ 18 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย นราธิวาส วันที่ 9 สิงหาคม 2564
จังหวัด : นราธิวาส
0 492
รายละเอียด

ปราชญ์ชาวบ้าน

ประวัติครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะการแสดงซีละ

ชื่อ นายสะมะแอ นามสกุล มามะ เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย หมายเลขบัตรประชาชน ๓-๙๖๐๒-๐๐๓๕๘-๙๗-๕ วันเดือนปีเกิด ๑๐ มกราคม ๒๔๙๒ อายุ ๖๑ ปีภูมิลำเนา(บ้านเกิด) จังหวัดนราธิวาส ที่อยู่สามารถติดต่อได้ บ้านเลขที่ ๓๓/๓ หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์ ๙๖๑๑๐ โทรศัพท์มือถือ ๐๘๗-๓๙๕๒๐๒๓ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะพื้นบ้าน ได้รับการถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นมาจากบรรพบุรุษ(ปู่ ย่า ตา ยาย) เชี่ยวชาญทางด้านซีละมาเป็นเวลา ๑๒ ปี ได้มีโอกาสแสดงในงานต่างๆเช่น งานพิธี ๕ ธันวามหาราชของทุกปี ผลงานได้รับการเผยแพร่ในการแสดงซีละในโอกาสต่างๆ ได้เผยแพร่ที่โรงเรียนมัธยมตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส,สนามกีฬากลางจังหวัดนราธิวาส,งานมหากรรมวัฒนธรรมจังหวัด นราธิวาส,งานวัฒนธรรมสัมพันธ์ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

วัสดุในการทำพิธีออกโรง (ก่อนเริ่มแสดง)

๑ เงิน (ค่าครู) จำนวน 125.-บาท

๒ หมาก/พลู

๓ ข้าวสาร

๔ ด้ายดิบ


กระบวนการ/วิธีการ

ซีละ มี 4 ขั้นตอน หรือ 4 จังหวะ ดังนี้

๑ เดินแบบข้ามสาม (ญาลันลาเกาะห์ ตีฆอ)

๒ เดินแบบข้ามสี่ (ญาลันลาเกาะห์ อัมปะ)

๓ เดินแบบข้ามห้า (ญาลันลาเกาะห์ ลีมอ)

๔ เดินแบบข้ามหก (ญาลันลาเกาะห์ อึนนัม)

รายละเอียดของแต่ละจังหวะนั้น ดังภาพประกอบดังนี้

จุดเริ่มต้นเข้าสู่การเดินในแต่ละแบบหรือแต่ละจังหวะ มีรายละเอียดดังนี้

ยืนตรง


เพื่อทำความเคารพครูผู้สอนหรือรำลึกถึงต่อครูบาอาจารย์


๑. เดินแบบข้ามสาม (ญาลันลาเกาะห์ ตีฆอ)

นักแสดงซีละยืนอยู่ในท่ารำเบื้องต้น ยืนอยู่แบบคนละด้านกัน ออกท่ารำแบบนุ่นนวล/อ่อนช้อย สายตามองประสานกันและกันทั้งคู่

๒. เดินแบบข้ามสี่ (ญาลันลาเกาะห์ อัมปะ)

เมื่อเดินแบบเดินข้ามสาม หมุนรอบ 3 ครั้งแล้ว นักแสดงซีละ ก็จะเดินหามุมในแดนของตัวเองอีกครั้งหนึ่ง

๓. เดินแบบข้ามห้า (ญาลันลาเกาะห์ ลีมอ)

นักแสดงซีละจะอยู่ในท่ารำ ที่น่าเกรงข้าม ซึ่ง นักแสดงทั้งคู่จะสร้างพฤติกรรมเดินเข้าหาคู่แข่งให้จนได้ ถึงกับชนมือกันหรือตามคำศัพท์ของนักแสดงซีละเรียกว่า แทงเข้า หรือ เชิงรุกเข้า (นักแสดงทั้งคู่จะทำการเดินเชิงรุกเข้าซ้ำ ๆ กัน ถึง สามครั้ง )

เดินแบบข้ามหก (ญาลันลาเกาะห์ อึนนัม)

นักแสดงเดินถอยออกหรือเชิงออกมองให้เห็นว่า เป็นภาพที่แสดงถึงความรักความสามัคคีตามแบบมารยาทของนักแสดงซีละที่ดีงาม

และสุดท้าย

เป็นท่ารำการแสดงซีละที่จบเสร็จสิ้นลง

เป็นท่ารำแบบการล่ำลาด้วยความเคารพ เมื่อจบสิ้น และลาครู

พิธีปิดโรง

เมื่อทำการอบรมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน หรือประชาชน เสร็จสิ้นลงแล้ว ลำดับสุดท้ายเรียกว่า ทำพิธีปิดโรง หมายถึง ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น (ครูผู้สอน) จะเรียกเด็กและเยาวชนที่ผ่านการอบรมเรียนรู้ มาสวดดูอาห์ พร้อมกับทำพิธีทำขวัญ หรือรับขวัญ ซึ่งมีรายละเอียด และวัสดุต่าง ๆ ดังนี้

1. ข้าวเหนียวสีเหลือง หรือ สีแดง หรือข้าวเหนียว เจ็ดสี

2. ไก่ย่าง

3. ไข่ต้ม

4. กล้วยสุก

5. มะพร้าวอ่อน

6. ด้ายดิบ

7. ข้าวบือรือเตะห์และขนมต่าง ๆ

8. ดอกไม้เจ็ดสี

9. กัมมียั่น เป็นต้น

การต่อยอดเพื่อให้เกิดรายได้

รับงานการแสดงศิลปะพื้นบ้าน (ซีละ) ในทุกเทศกาล เช่น มาแกปูโละ พิธีเข้าสุนัต ฯลฯ เพื่อที่จะก่อให้เกิดรายได้แก่ทางคณะ(ชุมชน)

หมวดหมู่
ปราชญ์ชาวบ้าน
สถานที่ตั้ง
ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ
เลขที่ 33/3 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ซอย - ถนน -
ตำบล เกาะสะท้อน อำเภอ ตากใบ จังหวัด นราธิวาส
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
บุคคลอ้างอิง -
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน พิชิตบำรุง
ตำบล บางนาค อำเภอ เมืองนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96000
โทรศัพท์ 073512833 โทรสาร 073511650
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่