ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 20' 40.9459"
15.3447072
Longitude : E 104° 9' 57.0038"
104.1658344
No. : 101112
สะไน
Proposed by. ssk Date 29 June 2011
Approved by. ศรีสะเกษ Date 14 November 2024
Province : Si Sa Ket
0 629
Description

สะไน เป็นภาษาเขมร แปลว่า“เขาสัตว์” ถ้าเป็นเขาควายก็จะเรียกว่า“สะไนกะไบ” สะไนเป็นเครื่องเป่าของชาวเยอทำจากเขาสัตว์ โดยทำจากเขาควาย เรียกเป็นภาษาเยอว่าซั้งหรือซั้งไนการที่ชาวเยอนิยมนำเขาควายมาทำสะไนเนื่องจากเขาควายมีรูลึกตั้งแต่โคนเขาจนถึงปลายเขาทำให้เจาะรูจากปลายเขาได้ง่าย ส่วนเขาวัวนั้นรูจากโคนเขาถึงปลายเขาไม่ลึกพอจึงไม่นิยม ตามหลักความเชื่อของชาวเยอที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอ ราษีไศล สะไน เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม หรือกิจกรรมที่สำคัญเท่านั้น เช่นพิธีกรรมบวงสรวงพญากตะศิลา การแข่งเรือยาว และเป็นการเป่าเพื่อบูชาสังข์ ยังไม่นิยมนำมาเป่าเล่นเพื่อผ่อนคลายหรือบันเทิงใด ๆ ตามที่ครูเฒ่าเผ่าเยอได้เล่าติดต่อกันมาว่า สะไนเป็นของศักดิ์สิทธิ์ และมีความสำคัญมาก สะไนเป็นเครื่องเป่าที่สืบเชื้อสายมาจากสังข์ (ในภาษาเยอเรียกว่า ซั้ง หรือปรงซั้ง) แปลว่าเป่าสังข์ ลิ้นของสะไนทำมาจากไม้ไผ่ใช้ยางไม้ติดเข้ากับตัวเขา ระหว่างปากลำโพงกับปลายเขา การเคารพบูชาสะไนจะเหมือนกับการเคารพบูชาสังข์ เพราะในอดีตชาวเยอเชื่อกันว่า การเป่าสะไนเป็นการเป่าบูชาสังข์ และเมื่อเป่าสะไนแล้ว เงือก นาค ภูตผีปีศาจ จะไม่มาทำร้ายคน พร้อมกันนี้จะทำให้ผีเจ้าป่าจ้าวเขาช่วยดูแลคุ้มครองรักษาชาวบ้านให้อยู่ดีกินดี มีความปลอดภัย ในสมัยก่อนเมื่อชาวเยอมีการเดินทางไกลต้องผ่านป่าเขา ถ้าหากเดินทางไปไม่ถึงที่หมายจำเป็นต้องนอนค้างแรมกลางป่าเขาต้องเอาสะไนติดตัวไปด้วย ถ้ายามค่ำคืนจะเอาสะไนออกมาเป่าเพื่อเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางผีป่าผีเขาให้ช่วยดูแลรักษา ถ้าเป่าสะไนแล้วสัตว์ป่าก็จะไม่มาทำร้าย ในสังคมวัฒนธรรมที่มีความใกล้เคียงกัน เช่น ส่วยและเขมร จะใช้สะไน เป็นเครื่องเป่าให้สัญญาณเวลาออกไปคล้องช้าง โดยเสียงสะไนที่เป่าแต่ละครั้งหรือแต่ละเสียง จะมีความหมายเป็นที่รู้จักกันในหมู่คณะ ลักษณะดังกล่าวจึงเหมือนเครื่องดนตรีอย่างหนึ่งของชนเผ่ากะตูในเขตพื้นที่แขวงสาละวัน ประเทศลาว เรียกตะโลเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่ แต่ตัดตรงกลางกระบอกไม่ไผ่เพื่อทำลิ้นเวลาเป่าจะดูดเข้าหรือเป่าออกก็ได้ ใช้เวลาออกจับช้างเพื่อบอกสัญญาณให้เพื่อนรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น โดยการเป่าแต่ละครั้งแต่ละแบบจะมีความหมายแตกต่างกันไป เช่น เป่าหนึ่งครั้ง กำลังเดินหน้า เป่าสองครั้งเรียกมากินข้าว เป่าติดต่อกันหลาย ๆ ครั้งไม่หยุดหมายถึงกำลังได้รับบาดเจ็บ

การใช้สะไนของชาวส่วย เขมร และการใช้ตะโลของขาวตะกู อาจกล่าวได้ว่าเป็น รหัสลับ คนที่จะรู้รหัสลับนี้ได้ต้องเป็นพวกเดียวกันเท่านั้น แต่ในสังคมวัฒนธรรมเยอไม่มีความเกี่ยวข้องกับช้างโดยตรงเหมือนชาวเขมร การใช้สะไนของชาวเยอจึงเป็นเครื่องเป่า ที่เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องของการกำเนิด สังข์ การเป่าสะไนจึงเป็นการเป่าเพื่อบูชาสังข์ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์แบบสังข์ และใช้ลิ้นแบบเดียวกับสังข์ ชาวเยอยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องเป่านี้ว่า ในโลกนี้มีเครื่องเป่าอยู่ ๓ แบบ ตามความเชื่อของชาวเยอ คือ หอยสังข์ มีพระนารายณ์เป็นผู้สร้างถือว่าเป็นเครื่องเป่าที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รองลงมาคือสังข์ไน (สะไน) เป็นเครื่องเป่าของกลุ่มชนเผ่าเยอ มีความศักดิ์สิทธิ์รองลงมาจากหอยสังข์ เนื่องจากเป็นเครื่องเป่าที่ทำจากเขาควายแต่ใช้ลิ้นสังข์ สุดท้ายคือ แตรสังข์ (แตรเขาสัตว์) เป็นเครื่องเป่าที่ทำจากเขาควายเหมือนกันแต่ไม่ได้ใช้ลิ้นสังข์ คือเป่าจากปลายเขามักจะใช้เป็นสัญญาณในการสื่อสารการเดินเรือสิ้นค้าที่มีน้ำไหลเชี่ยวและสายน้ำมีความคดโค้งจะมีการเป่าแตรสังข์ เพื่อไม่ให้เรือชนกัน ชาวเยอมีนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับการกำเนิดสังข์ และการกำเนิดสะไน คือเรื่อง พระเจ้าสร้างโลกกับความเป็นมาของสังข์และสะไน

Location
บ้านร่องอโศก
No. 21 Moo 15 บ้านร่องอโศก Soi - Road -
Tambon เมืองคง Amphoe Rasi Salai Province Si Sa Ket
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ
Tambon เมืองเหนือ Amphoe Mueang Si Sa Ket Province Si Sa Ket ZIP code 33000
Tel. 045-617811-12 Fax. 045-617812
Website https://sisaket.m-culture.go.th/
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่