ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 12' 30.6065"
15.2085018
Longitude : E 104° 0' 34.3022"
104.0095284
No. : 101594
เซียงข้อง
Proposed by. ssk Date 3 July 2011
Approved by. ศรีสะเกษ Date 7 July 2011
Province : Si Sa Ket
0 1459
Description

                  คำว่าเซียงข้อง  เดิมทีคำว่าเซียง  มีรากศัพท์มาจากภาษาส่วยที่ว่าเจียง  ซึ่งแปลว่ายิ่งใหญ่  หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  หรือเทวสิทธิ์อันเป็นที่เคารพ และคำว่า เจียง  ได้เพี้ยนเสียงมาเป็นคำว่าเซียงในปัจจุบัน  ส่วนคำว่าข้อง หมายถึง เครื่องจักสานสำหรับใส่ปลา รูปคล้ายตะกร้า  ปากแคบอย่างคอหม้อดิน ก้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดต่าง ๆ (พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, หน้า ๑๓๕)

                   แรกเริ่มนั้น  เซียงข้องมาจากไหนไม่มีใครทราบ  ทราบแต่เพียงว่าได้มีพ่อค้ากลุ่มหนึ่ง ซึ่งมาจากอำเภอหนองบัวลำภู ซึ่งก็คือจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบันนั่นเอง  ได้นำเสื้อผ้าแพรมาจากประเทศพม่า  มาขายในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้  และได้นำเซียงข้องมาเผยแพร่ด้วย  ส่วนที่บ้านตาโกนนั้น คนที่ทำพิธีเซียงข้องคนแรกคือ นายพรหมมา  เหลาคำ  ซึ่งเป็นเสมียนประจำหมู่บ้านในสมัยนั้น  ทำหน้าที่คล้ายปลัดอำเภอในปัจจุบัน  เสมียนพรมมา  มีพื้นเพเดิมเป็นคนบ้านธาตุ  อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์  ต่อมาได้แต่งงานกับชาวบ้านตาโกน และทำพิธีเซียงข้องที่บ้านตาโกน  และได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี   ความเชื่อ ต่อจากนั้นเสมียนพรมมาได้ถ่ายทอดเซียงข้องให้กับนายทา  ผลสุข  ซึ่งเป็นคนบ้านหนองลุง อำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมานายทา  ผลสุข  ก็ได้ถ่ายทอดเซียงข้องให้กับนายเมา ไชยโย ซึ่งเป็นคนบ้านตาโกน อำเภอเมืองจันทร์  จังหวัดศรีสะเกษ  ต่อมานายเมา ไชยโย  ได้ถ่ายทอดเซียงข้องให้กับนายทิพย์  ไชยโย  และเป็นผู้ทำพิธีเซียงข้องในปัจจุบัน

                   เซียงข้องเป็นเทพและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันลี้ลับที่ชาวบ้านตาโกนนับถือ  เมื่อถูกอัญเชิญ ก็จะมาเข้าร่างทรงที่เตรียมไว้ให้คือ ข้องนั่นเอง และผู้ที่จะทำพิธีเชิญเซียงข้อง จะต้องได้ร่ำเรียนวิชาทางไสยศาสตร์มาจากขอม ในการทำพิธีเซียงข้องนั้น  สิ่งที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้เลย  ก็คือผ้าแพรสีแดง ใช้สำหรับมัดศีรษะ  ร่างทรง และจะต้องเป็นผ้าแพรสีแดง ซึ่งได้มาจากพม่าที่ชาวบ้านจังหวัดหนองบัวลำภูมาขายที่ทุ่งกุลาร้องไห้เท่านั้น ถ้าใช้ผ้าแพรสีแดงอื่น เซียงข้องจะไม่เข้าร่างทรง  ส่วนเสื้อที่ใส่ร่างทรงนั้น จะต้องเป็นผ้าไหมเหยียบย้อมมะเกลือให้เป็นสีดำ ผู้ที่ทำพิธีอัญเชิญเซียงข้องนั้นจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามประเพณีฮีต ๑๒ คลอง ๑๔ และห้ามรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์  จำพวกเนื้อหมา  เนื้อแมว  เพราะถือว่าผิดครู และทุกๆ ปี ผู้อัญเชิญเซียงข้องจะต้องแต่งขัน ๘ ในวันเข้าพรรษา และในวันออกพรรษา จะต้องแต่งขัน ๕ เพื่อให้เซียงข้อง และในช่วงระหว่างเข้าพรรษา ๓ เดือนนั้น ผู้ทำพิธีอัญเชิญเซียงข้องจะต้องทำพิธีไหว้เซียงข้องทุกๆ วันพระ  หลังจากออกพรรษาแล้ว ในช่วงวันพระจะทำพิธีไหว้เซียงข้องหรือไม่ไหว้ก็ได้ ถือว่าไม่ผิดครู

                   การทำพิธีเซียงข้องนั้น มีอยู่เกือบทุกภาคของประเทศไทย  และแต่ละภาคก็จะเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปอย่างเช่น ในภาคกลางและภาคเหนือเขาจะเรียกนางข้อง และในจังหวัดอุดรธานี กาฬสินธุ์ ก็ยังเรียกนางข้องเช่นเดียวกัน ส่วนในจังหวัดนครสวรรค์ ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป คือนางกระด้ง

 

ที่มาข้อมูล :  องค์การบริหารส่วนตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์  จังหวัดศรีสะเกษ

                      

Location
บ้านตาโกน
Moo 1 บ้านตาโกน
Tambon ตาโกน Amphoe Mueang Chan Province Si Sa Ket
Details of access
Reference นางสาวดวงใจ พรหมโลก
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ Email sisaket@m-culture.go.th
Road เทพา
Tambon เมืองเหนือ Amphoe Mueang Si Sa Ket Province Si Sa Ket ZIP code 33000
Tel. 045-617811 Fax. 045-617812
Website http://province.m-culture.go.th/sisaket
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่