ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 53' 35.6698"
16.8932416
Longitude : E 98° 33' 37.2974"
98.5603604
No. : 102894
พิธีเรียกขวัญ (ฮ้องขวัญ)
Proposed by. Manop_Ch Date 13 July 2011
Approved by. Takculture Date 13 July 2011
Province : Tak
0 4815
Description

พิธีเรียกขวัญ (ฮ้องขวัญ)

v ชาวล้านนามีความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมี ขวัญ ประจำตัวอยู่ ๓๒ ขวัญ และขวัญจะหนีออกจากร่างกายได้เมื่อมีเหตุให้ตกใจ เช่น เจ็บป่วย หกล้ม หรือได้รับอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆว่า เมื่อเห็นเด็กเล็กหกล้ม ผู้เฒ่าผู้แก่มักจะพูดว่าขวัญเอ้ยขวัญมาหรือต้องพลัดพรากจากบ้านไปไกล เรียกว่า ขวัญหาย หรือเสียขวัญ เป็นต้น จึงได้มีการทำพิธีเรียกขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว นอกจากนั้นก็มีพิธีเรียกขวัญในโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชีวิต เช่น การขึ้นบ้านใหม่ บวช แต่งงาน หรือเมื่อได้รับตำแหน่งที่สำคัญๆ

v การฮ้องขวัญ ของชาวเหนือ จะทำบายศรีสู่ขวัญ ใส่ขันเงิน มีพานรองรับ ในขันมีข้าวเหนียวสุกปั้นเป็นก้อน ไข่ต้มสุกปอกเปลือก กล้วย ดอกไม้ ธูปเทียนประดับอย่างสวยงาม ถ้าเป็นในกรณีผู้ป่วยจะมีไก่ต้มทั้งตัวใส่ภาชนะวางร่วมด้วย เมื่อเสร็จพิธีก็จะให้ผู้ป่วยหรือผู้ถูกเรียกขวัญกินเป็นการทำขวัญ ด้ายดิบสีขาวสำหรับผูกข้อมือ ผู้ที่จะทำหน้าที่ฮ้องขวัญ หรือหมอขวัญ คือ พ่ออาจารย์วัด หรือมรรคนายก นั่นเอง ซึ่งผู้ที่มีฝีปากในการฮ้องขวัญได้ไพเราะจับใจจะมีผู้มาหาให้ไปทำพิธีอยู่เสมอ ขันตั้งสำหรับบูชาครูกมีผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวเปลือก ข้าวสาร ใส่กระทงใบตองพอประมาณ หมากแห้งร้อยเป็นพวง เรียกว่าหมากหัว ใบพลูสด ใส่ในสรวยใบตอง สรวยดอกไม้ ธูปเทียน เงินบูชาครูจำนวนหนึ่งประมาณ ๑๕-๓๐ บาท หรือแล้วแต่พ่ออาจารย์จะระบุมา ซึ่งแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน

v เมื่อจัดเตรียมสิ่งของทุกอย่างพร้อมแล้ว ผู้ทำพิธีจะนั่งบริกรรมคาถาบูชาครู แล้วให้ผู้ที่มาให้เรียกขวัญนั่งพนมมือ มีพานบายศรีวางอยู่ตรงหน้า แล้วเริ่มทำพิธีฮ้องขวัญด้วยท่วงทำนองเสนาะชวนฟัง ทำให้ผู้ที่อยู่ในพิธีจะเกิดความปีติสดชื่นขึ้น ในคำเรียกขวัญนั้นจะกล่าวถึงขวัญทั้ง ๓๒ ขวัญ จะตกไปอยู่ที่ไหนก็ขอให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว และเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธ์ในคำเรียกขวัญนั้นจึงมีการอ้างถึงเทพเจ้าทั้งหลายในศาสนาพราหมณ์ อ้างถึงพระพุทธคุณ และมีการสอดแทรกภาษาบาลีไว้ในบทเรียกขวัญด้วย ในขณะที่ผู้ทำพิธีกล่าวถึงตอนที่เรียกขวัญทั้ง ๓๒ ขวัญแล้ว ก็จะผูกข้อมือ ให้ทั้ง ๒ ข้าง โดยผูกข้อมือซ้ายก่อน เรียกว่า ไหมมือ หรือ ฝ้ายไหมมือ เพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนเอง จะช่วยคุ้มครองเด็กจากภูตผี สิ่งไม่ดีต่างๆ

v ในประเพณีการฮ้องขวัญ เราอาจสรุปได้ว่า ขวัญ ก็คือกำลังใจของคนเรานั่นเอง อย่างการเรียกขวัญของคู่บ่าวสาว ในการแต่งงานนอกจากจะมุ่งให้กำลังใจแล้วยังเป็นการสั่งสอนให้มีการครองรักครองเรือนแก่คู่สมรสอีกด้วย และเช่นการฮ้องขวัญนาค ในงานบวช ก็เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกรักและกตัญญูต่อบุพการี ประพฤติตนอยู่ในกรอบพุทธวินัยอย่างเคร่งครัดนั่นเอง

มานพ ชื่นภักดิ์
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
อ้างอิง : การตานต้อด., (ระบบออนไลน์) http://www.sridonmool.com

v เอื้อเฟื้อภาพจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Location
พิธีเรียกขวัญ
Moo หมู่ที่ 4 บ้านแม่จะเรา
Tambon แม่จะเรา Amphoe Mae Ramat Province Tak
Details of access
พิธีเรียกขวัญ (ฮ้องขวัญ) http://www.sridonmool.com/home/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=40&Itemid=81
Reference มานพ ชื่นภักดิ์ Email manop.always@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก Email takculture@gmail.com
Road พหลโยธิน
Tambon หนองหลวง Amphoe Mueang Tak Province Tak ZIP code 63000
Tel. 055517722 Fax. 055517646
Website www.takculture.com
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่