เกษตรกรนายสุรชัย แซ่จิว ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้ภูมิปัญญาในการเลี้ยงปลาว่า"เดิม...ผมเลี้ยงปลาพื้นที่20ไร่ใช้เวลาเลี้ยง11-12เดือน จับขายได้20ตัน ไร่ละตันโดยเฉลี่ย ขายได้4แสนบาทต้นทุน2แสนบาท ระยะหลังผมปล่อยน้อยหน่อย ใช้เวลาเลี้ยง8-9เดือน จับได้19ตันพื้นที่เท่าเดิม ต้นทุนอยู่ที่4-5หมื่นบาท ผมปรับเรื่องอาหารที่เลี้ยง ใช้ขี้ไก่ รำ เราทำน้ำให้เกิดลูกไร เอาขี้ไก่บวก พด.2ทำทุกๆ7วัน อย่าให้สีน้ำอ่อนหรือเข้มเกินไป มีลูกไร เอากุ้งขาวปล่อยลงไป3แสนตัว จับได้1.5ตัน ราคากิโลกรัมละ120บาท ได้กำไร แต่ต้องปรับสภาพน้ำให้ดี อาหารกุ้งไม่ต้องให้ ให้เฉพาะอาหารปลา ให้อาหารปลากิน เมื่อปลากินเหลือเกิดไรแดง กุ้งกินไรแดงต่ออีกทีหนึ่ง ปลาที่เลี้ยงมีปลานิล ตะเพียน ยี่สก เล่งฮื้อ เฉาฮื้อ นอกจากนี้ มีปลาเชลยเข้ามาเอง อย่างปลาช่อน ปลาหมอ เลี้ยงปะปนกัน ปลากะพงก็ปล่อยปลาที่ปล่อยลงไปหากเป็นโรค ปลากะพง ปลาช่อนก็กินปลาที่เป็นโรค ปลาอ่อนแอเป็นอาหาร เป็นการตัดวงจรเชื้อโรค ดังนั้น เชื้อโรคจึงไม่แพร่ระบาดหากน้ำไม่มีออกซิเจน แก้ไขโดยการตีน้ำ เปลี่ยนน้ำใหม่เข้าไป เดิมเกษตรกรรายนี้เมื่อก่อนเป็นหมอดินอย่างเดียว แต่จากการที่เรียนรู้เรื่องปลาอย่างจริงจัง เขาจึงกลายเป็นหมอปลาโดยตำแหน่ง ซึ่งมีคนมาปรึกษาหารืออยู่เป็นประจำการ