วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง ๕๐ เมตร (๒๕ วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้งมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ และ ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ พระอารามราษฎร์ ชั้นสามัญ ประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่แห่งทุ่งโพธิ์ทอง อยู่ในเขตตำบลอินทประมูล วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง ๕๐ เมตร (๒๕ วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้งมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ และ ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจนอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป และ ในศาลาเอนกประสงค์ มีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูลและโครงกระดูกมนุษย์ ขุดพบในเขตวิหารพระพุทธไสยาสน์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ลักษณะนอนคว่ำหน้า มือและเท้ามัดไพล่อยู่ด้านหลัง เชื่อกันว่าเป็นโครงกระดูกขุนอินทประมูลแต่บ้างก็ว่าไม่ใช่ ซึ่งตามประวัติเล่ากันว่า ท่านเป็นนายอากรผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ โดยยักยอกเอาเงินของหลวงมาสร้างเพื่อเป็นปูชนียสถาน ครั้นพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงทราบรับสั่งถามว่าเอาเงินที่ไหนมาสร้าง ขุนอินทประมูลไม่ยอมบอกความจริงเพราะกลัวส่วนกุศลจะตกไปถึงองค์พระมหากษัตริย์จึงถูกเฆี่ยน ท้ายที่สุดทนการลงทัณฑ์ไม่ไหว เมื่อใกล้สิ้นใจได้ขอพระราชทานโปรดเกล้าฯให้งดโทษแล้วสารภาพว่า ได้ยักยอกพระราชทรัพย์ไปจริงแต่มุ่งสร้างให้เป็นการเสริมพระบารมี ภายหลังขุนอินทประมูลเสียชีวิตลง พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเห็นว่าขุนอินทประมูลมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง ทรงโปรดให้ฝังร่างไว้ในเขตพระวิหารด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ หลังจากทำพิธียกเกศทองคำหนัก ๑๐๐ ชั่งพระราชทานประดับเหนือเศียรพระ พระราชทานนามวัดว่า “วัดขุนอินทประมูล” และถวายนามพระพุทธไสยาสน์ว่า "พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล" มีประวัติบอกเล่าตามบันทึกคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า พม่าบุกเข้าปล้นเอาพระเกศทองคำ เผาพระวิหาร และองค์พระพุทธไสยาสน์เสียหายทั้งหมด เมื่อเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ ความในประวัติศาสตร์กล่าวสืบเนื่องต่อกันมาเช่นนี้ จริงเท็จเป็นประการใดขอยกเว้น ต่อมากรมศิลปากรได้มีการกำหนดโบราณสถานสำหรับชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ ๒๔๗๘ วัดขุนอินทประมูลเริ่มมีการพัฒนาชัดเจนตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๑ และเริ่มการซ่อมแซมครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๙ การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สายคือ สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (ทางหลวงหมายเลข ๓๐๖๔) แยกขวาที่กิโลเมตร ๙ เข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกิโลเมตรที่ ๖๔–๖๕ จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง ๔ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง (ถนนเลียบคลองชลประทาน) เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก ๒ กิโลเมตร