ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 26' 31.9423"
18.4422062
Longitude : E 99° 5' 49.8599"
99.0971833
No. : 121991
พิธีสะเดาะเคราะห์(ส่งเคราะห์ ส่งแถน)
Proposed by. tippawan_mat Date 1 Febuary 2012
Approved by. ลำพูน Date 8 March 2012
Province : Lamphun
1 4097
Description

เป็นการประกอบพิธีกรรมเมื่อคนเกิดเจ็บป่วย มีอุบัติเหตุร้ายแรง หรือมีความเชื่อว่าอายุชาตาขาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับตนเองหรือผู้ใกล้ชิด เชื่อว่าการส่งเคราะห์ จะทำให้พ้นจากเรื่องอัปมงคลต่างๆ ไปได้ มีชีวิตที่สุขสบาย ไม่เจ็บป่วยพ้นจากโรคภัย เป็นการขจัดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในจิตใจ ส่วนการส่งแถน เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ปู่แถน ย่าแถน(พ่อเกิด แม่เกิด ตามความเชื่อของคนล้านนา)

ผู้ที่ทำพิธีส่งเคราะห์คือ อาจารย์ การประกอบพิธีกรรม จะมีบรรดาญาติของผู้เจ็บป่วยและผู้ป่วยเข้าร่วมในพิธีกรรม เครื่องบูชา ประกอบด้วยตุง (สาม หก เก้า หรือสิบสองตัว ก็แล้วแต่ข้อกำหนดของปู่อาจารย์) รูปปั้นดินเหนียวรูปคน รูปสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง วัว ควาย เสือ งู ไก่ นอกจากนี้ก็มีกล้วย อ้อย หมาก พริก บุหรี่ ข้าวสุก อาหารคาว (แกงดิบและแกงสุก) อาหารหวาน เครื่องบูชาเหล่านี้จะบรรจุไว้ใน สะตวง ซึ่งทำด้วยกาบกล้วยทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ปู่อาจารย์ก็จะนำสะตวงนั้นไปยังทางสามแพร่ง หรือทิศทางที่ไม่ถูกกับลักขณา ของผู้ป่วย และจุดธูปเทียนบูชาภูติผีปีศาจ ยกสะตวงขึ้นจบเหนือศีรษะ และกล่าวอัญเชิญ ภูติผีปีศาจเทวดาอารักษ์ให้มารับเครื่องเซ่น แล้วจึงวางสะตวงไว้ โดยปล่อยให้นกกามากินของในสะตวงนั้นเป็นอันเสร็จพิธี
อนึ่งในขณะทำเครื่องบูชานั้น ปู่อาจารย์จะประกอบพิธียกครูให้ผู้เป็นอาจารย์ การยกครูหรือเรียกว่า การตั้งขันตั้ง เครื่องขันตั้งส่วนมากจะมีหมาก พลู ผ้าขาว เงินค่าครู (ไม่ได้กำหนดไว้ว่าเท่าใดแล้วแต่ปู่อาจารย์จะเป็นผู้กำหนด) และเหล้า ๑ ขวด

อุปกรณ์ประกอบพิธีกรรม/แหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้

1. กระทงกาบกล้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 9 นิ้ว

2. เครื่องแกงส้ม แกงหวาน(ใบตำลึง ใบผ้าหวานบ้าน ใบแค ยอดมะขาม ยอดฝักทอง)

3. กล้วย อ้อย หมาก พูล เหมื่ยง บุหรี่ ขนม ข้าวสุก อาหารสุก หรืออาหารแห้ง ดอกไม้ ธูป เทียน

4. ช่อ(กระดาษตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลมพันติดกับไม้สูง 6 นิ้ว) 4 อัน

5. น้ำขมิ้น ส้มป่อย

ของที่ใส่ในกระทงกาบกล้วยเรียกว่า “เครื่องสี่”นำวัสดุตั้งแต่ข้อ 2- 4 มาหันและนำไปใส่ในกระทงกาบกล้วยทั้งสี่มุม ในการส่งเคราะห์ใช้กระทง 4 ห้อง

ในกรณีส่งแถน จะเพิ่มอุปกรณ์ ดังนี้

1.รูปปั้นนักสัตว์ประจำปีเกิดของผู้ส่ง(รูปปั้นจะปั้นจากดินเหนียว หรือดินน้ำมันก็ได้) 1 ตัว

2. รูปปั้น ชาย –หญิง อย่างละ 1

3. เสื้อ 1 ตัว กางเกง 1 ตัว

4. กระทงจะใช้กระทง 9 ห้อง

ขั้นตอนวิธีการประกอบพิธี ดั้งนี้

ในการประกอบพิธีจะเริ่มเมื่อตกวันลง คือ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป

1. นำผู้ที่จะส่งเคราะห์ นั่งบนเสื่อที่ปูเตรียมไว้ นั่งเหยียดขาหันหน้าไปทางกระทงกาบกล้วย(เครื่องสี)

2. เตรียมน้ำขมิ้น ส้มป่อย

3. นำพานดอกไม้ ธูปเทียนวางไว้ใกล้กัน

4. เจ้าพิธียืนอยู่ด้านหลังผู้ที่จะส่งเคราะห์ กล่าวคำส่งเคราะห์ หรือส่งแถน

5. ให้ผู้ที่ส่งเคราะห์เหยียดมือไปที่กระทง

6. เจ้าพิธีนำน้ำขมิ้น ส้มป่อย สลัดใส่มือผู้ส่งเคราะห์ เสร็จแล้ว นำกระทงส่งเคราะห์ไปวางทางทิศตะวันตก หรือทางสามแพร่ง เป็นเสร็จพิธี

Location
บ้านทาศาลา
No. 183 Moo 3 บ้านทาศาลา
Tambon ทาสบเส้า Amphoe Mae Tha Province Lamphun
Details of access
นายพงษ์ศักดิ์ พงษ์ด้วง
Reference นายพงษ์ศักดิ์ พงษ์ด้วง
Organization สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอแม่ทา
Tambon ทาสบเส้า Amphoe Mae Tha Province Lamphun ZIP code 51140
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่