ธาตุ ในภาคอีสาน คือที่เก็บกระดูกของผู้เสียชีวิต ซึ่งนิยมสร้างไว้ในวัด ที่ว่านิยมคือส่วนใหญ่ บางคนอาจบอกลูกหลานไว้ว่า ให้ไปสร้างธาตุ ไว้ที่นา หรือที่ดินตนอง
หลังจากเก็บกระดูกแล้ว ญาติจะนำกระดูกใส่โกศ และฝากไว้กับพระ เมื่อครบ ๑๐๐ วัน ก็จะทำบุญอุทิศไปให้ บ้านเราเรียกว่า ประเพณีทำบุญแจกข้าว โดยวันงาน จะเชิญญาติพี่น้อง มาร่วมห่อข้าวต้ม กินข้าวปุ้น และทำอาหาเลี้ ยงกันที่บ้าน ทั้งวัน ญาติที่มาก็จะร่วมทำบุญโดยเอาเงินมาเสียบไว้ที่ต้นดอกเิงิน ไม้ที่ใช้คีบเงินเสียบกับต้น เรียกว่าไม้สวรรค์ เงินนี้จะถวายเป็นเงินวัด (เรียกว่าเงินสงฆ์) ซึ่งกรรมการวัดจะเอาไปสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่วัด พระไม่เกี่ยว ส่วนเงินที่ถวายพระใส่ซองขาว จึงเป็นเงินพระ ให้เข้าใจว่าเงินสงฆ์คือเงินวัด ส่วนเงินพระก็คือเงินที่เราถวายให้พระตอนเย็นจะมีพิธีเอาอัฐิเข้าธาตุ โดยเริ่มจากลูกหลาน ญาติพี่น้อง มานั่งพร้อมหน้ากัน นิมนต์พระสงฆ์มา ๔ รูป หันหน้าไปทางธาตุ จากนั้นลูกหลานจะนำกระดูกมาสรงน้ำอบ น้ำหอม โดยเทออกจากโกศใส่ผ้าขาว โดยให้พระสรงก่อน จากนั้นเอากระดูกใส่โกศ ไปวางไว้ที่หน้าธาต เปิดฝาโกศออก เพื่อให้วิญญาณมารับส่วนบุญได้สะดวก พร้อมจตุปัจจัย โยงด้ายสายสิญจน์จากโกศกระดูก ไปที่จอมธาตุ จานใส่ซองจตุปัจจัย และมาโยงมาที่พระสงฆ์ เจ้าภาพจุดธูปเทียน พระสงฆ์บังสุกุล โดยให้พระถือด้ายสาิยสิญจน์ทุกรูป เมื่อบังสุกุลจบ เก็บด้ายสายสิญจน์ ปิดฝาโกศ เจ้าภาพถวายจตุปัจจัย พระสงฆ์ให้พระ เจ้าภาพกรวดน้ำ
จากนั้นญาติทุกคนจุดธูปคนละดอก แล้วนำไปคารวะต่อกระดูกของผู้เสียชีวิต
เสร็จแล้วปักธูปที่กระถาง และนำเอาโกศ เข้าธาตุ เป็นอันเสร็จพิธี
ในช่วงสงกรานต์ ลูกหลานนิยมมาทำบุญบังสุกุลหาพ่อแม่ ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
นับเป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูรู้คุณ ของบุตรหลานเป็นอย่างดี