ความเป็นมา บ้านตาดกลอย ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 และ 4 บ้านตาดกลอยเดิมอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านในปัจจุบัน ในอดึตเกิดไฟไหม้บ้านทำให้ขาวบ้านส่วนหนึ่งอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทัศตะวันออกหรือทางเหนือน้ำ ห่างจากหมู่บ้านเดิมประมาณ 1.5 กม. เรืยกว่าบ้านเหนือ และราษฎรที่อาศัยอยู่เดิมเรียกว่าบ้านไฟไหม้ หรือบ้านใต้ จากเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านอดอยากยากจนมากไม่มีแม้แต่ข้าวจะกิน ชาวบ้านจึงได้นำเอา "หัวกลอยย" (หัวมันป่าชนิดหนึ่ง) มากันแทนข้าว กรรมวิธีการนำหัวกลอยมาเป็นอาหาร คือ การนำเอาหัวกลอยมาปลอกเปลือกแล้วนำมาหั่นเป็นแผ่นบาง ๆ ใส่ภาชนะแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 คืน แล้วล้างออกเสร็จแล้วนำไปตากแดดให้แห้งเก็บไว้กินได้นาน ๆ ฉะนั้นทุกหลังคาเรือนจึงมีกลอยตากไว้ ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาก็เห็นการตากกลอยเป็นประจำ จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านตากกลอยเหนือ" และ "บ้านตากกลอยใต้" นานวันเข้าได้เพี้ยนเป็น "บ้านตาดกลอย" มาจนถึงทุกวันนี้
สภาพภูมิศาสตร์และการคมนาคม สภาพทั่วไปของหมุ่บ้านบ้านตาดกลอย เป็นที่ราฐเชิงเขา มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านวังเวินพัฒนา ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านห้วยอีจีน
ทัศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านกกกล้วยนวน บ้านหลักด่าน อำเภอน้ำหนาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านศิลา
การคมนาคม มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2167 ผ่านหมุ่บ้าน มีรถประจำทางของอำเภอนำหนาววิ่งผ่านทุกวัน ระยะทางห่างจากอำเภอหล่มเก่า ประมาณ 34 กม.
อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ทำไร่ตามที่ราบลุ่มเชิงเขา พืชเศรษฐกิจของหมุ่บ้าน คือ ข้าวโพด
ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิยมทำบุญตักบาตรตามประเพณีของชาวพุทธทั่วไป ประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติติดต่อกันมาช้านาน คือ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันวิสาขบูชา วันสงกรานต์ และพิธีสู่ขวัญในโอกาสต่าง ๆ ตามพิธีศาสนาพราหมณ์
การแต่งกาย นิยมแต่งกายตามสมัยนิยม
กาษา พรรพยุรุษเป็นราษฎรที่อพยพมาจากเวียงจันทร์ จึงมีภาษาพูดคล้ายภาษาลาว ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของชาวบ้านตาดกลอย