พระผงสุพรรณหน้าแก่ เนื้อดินผสมว่าน พบที่กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑
นักนิยมพระเครื่องยกย่องให้เป็นพระหนึ่งใน "ชุดเบญจภาคี" อันถือเป็นพระเครื่องชุดที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วยพระพิมพ์ ๕ องค์ คือ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พระซุ้มกอหรือพระลีลาเม็ดขนุน กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพเพชร พระรอด วัดพระรอด จังหวัดลำพูน
และพระผงสุพรรณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี มีลักษณะเป็นพระพิมพ์ปางมารวิชัย ขนาดสูงประมาณ ๓ เซนติเมตร มีกรอบพิมพ์เป็นรูปสามเหลี่ยม
แต่ที่ตัดกรอบพิมพ์เป็นรูปห้าเหลี่ยมก็มี เป็นพระพิมพ์ดินเผามีเนื้อละเอียดครั้งหนึ่งในอดีตมีชื่อเรียกว่า "พระเกษรสุพรรณ" ทั้งนี้พระผงสุพรรณ สามรถแบ่งย่อยออกได้
๓ พิมพ์ ตามลักษณะของใบหน้า คือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง พิมพ์หน้าหนุ่ม โดยมีลักษณะโดยรวมเหมือนกัน คือ เป็นพระพิมพ์ปางมารวิชัย ประทับนั่ง
อยู่บนฐานเขียงเตี่ย ๆ และเป็นที่น่าสังเกตว่าด้านหลังของพระผงสุพรรณทุกองค์ มักปรากฏลายนิ้วมือชัดเจนซึ่งเป็นวิธีในการกดพิมพ์พระ ลายมือดังกล่าวนักสะสมพระพิมพ์เชื่อว่า
เป็นลายมือของ "พระเถระปิยทัสลีสารีบุตร" ซึ่งเป็นพระเถระสำคัญที่มีส่วนสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ภายในปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ