นายขนมต้ม เป็นนักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา เกิดที่ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรนายเกิด และนางอี่ มีพี่สาวชื่อนางเอื้อย ทั้งพ่อแม่และพี่ถูกพม่าฆ่าตายหมด และต้องไปอยู่วัดตั้งแต่เล็ก นายขนมต้มถูกพม่ากวาดต้อนไปเชลยในระหว่างเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ นายขนมต้มมีชื่อเสียงในเชิงมวยเป็นที่เลื่องลือ ในพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้ปฏิสังขรณ์และก่อเสริมพระเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้งเป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ ๑๗ มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร ขุนนางพม่ากราบทูลว่า "นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก" พระเจ้ามังระจึงตรัสสั่งให้เอาตัวนายขนมต้ม นักมวยดีมีฝีมือตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาถวาย พระเจ้ามังระได้ให้จัดมวยพม่าเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้ม โดยจัดให้ชกต่อหน้าพระที่นั่ง ปรากฏว่านายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึงยกก็แพ้ถึงเก้าคนสิบคนก็สู้ไม่ได้ พระเจ้ามังระทอดพระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระตรัสสรรเสริญนายขนมต้มว่า “คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลย กรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดังนั้น ชาวตำบลบ้านกุ่ม ได้ระลึกถึงความเก่งกล้าของนายขนมต้ม ซึ่งเป็นบรรพบุรุษผู้เก่งกล้าแห่งบางบาล ลูกหลานชาวบ้านกุ่ม เรียกท่านว่าพ่อปู่ขนมต้ม และได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ ไว้กราบไหว้ขอพร ทางเข้าโรงเรียนวัดจุฬามณี และทางเข้าวัดจุฬามณ๊ ลักษณะของอนุสาวรีย์ จะสร้างฐานเก้าเหลี่ยม ทั้ง เก้าด้านจะเป็นรูปปั้นท่าแม่ไม้มวยไทย ได้แก่ ท่าจระเข้ฟาดหาง ท่าปักษาหวก ท่าชวาซัดหอก หักงวงไอยรา ท่าหักคอเราวัณ ท่าวิรุณหกกลับ ท่ายกเขาพระสุเมรุ ท่าปักลูกทอย และท่าอิเหนาแทงกฤช ทุกปีจะมีการบวงสรวงอนุสาวรีย์ของพ่อปู่ขนมต้มช่วงเดือนมีนาคม มีการแสดงต่อหน้าอนสาวรีย์มากมาย เช่น การแสดงรำมวยไมย ของนักเรียนที่ได้รับการฝึกสอนเรื่องมวยไทย