ปฐมหมุด รัชกาลที่ ๕
ประวัติความเป็นมา ปฐมหมุดหลักฐานแผนที่ เป็นหมุดศูนย์กำเนิด หมุดแรกที่กรมที่ดิน
สร้างขึ้นในประเทศไทย เพื่อใช้อ้างอิงในการรังวัดวางโครง และสร้างระวางแผนที่ สำหรับออก
โฉนดที่ดิน สร้างขึ้นในสมัยราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๒๓ สร้างไว้ที่
กลางทุ่งนา ตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินของนางสาเก เฉลยอาจ บ้านเลขที่ ๓๐ หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าตอ
อำเภอมหาราช( นครใหญ่ ) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ความสำคัญเป็นศูนย์กำเนิดพิกัดฉาก ซึ่งมีค่าตามพิกัดภูมิศาสตร์ เป็นขีดขวาง ๑๔ องศา
๓๓ ลิปดา ๕๘.๕๑ ฟิลิปดาทางเหนือขีดยาว ๑๐๐ องศา ๓๐ ลิปดา ๓๖.๗๘ ฟิลิปดา
ทางตะวันออกเป็นหมุดศูนย์กำเนิด มณฑลอยุธยา ใช้สำรวจแผนที่ระวาง
๑. จังหวัดพระนครศรีอธยา
๒. จังหวัดอ่างทอง
๓. จังหวัดสิงห์บุรี
๔. จังหวัดลพบุรี
๕. จังหวัดสระบุรี
๖. จังหวัดปทุมธานี
๗. เขตธัญญบุรี
ลักษณะของปฐมหมุดเป็นเสาหลักหินรูปทรงสี่เหลี่ยมยอดปิรามิด
หน่วยงานดูแลรักษาสำนักงานที่ดินอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การเก็บรักษาได้ล้อมรั้วไว้ทั้ง ๔ ด้าน
โดยวัฒนธรรมอำเภอมหาราช