ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 6° 28' 38.6677"
6.4774077
Longitude : E 101° 8' 7.0534"
101.1352926
No. : 139758
ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว (ปีมอสโซ่)
Proposed by. ยะลา Date 18 June 2012
Approved by. ยะลา Date 18 June 2012
Province : Yala
2 712
Description

งานศิลปกรรมพื้นบ้าน เป็นงานประดิษฐ์ที่ใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ โดยเน้นวัสดุเหลือใช้จากมะพร้าวเป็นหลัก เช่น กะลามะพร้าว กาบมะพร้าว ทางมะพร้าว ทะลายมะพร้าว จั่นมะพร้าว เศษไม้ ราก/เหง้าไม้ไผ่ และอื่น ๆ มาออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันที่มีรูปแบบต่าง ๆ โดยสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ไม่ก่อมลภาวะเป็นพิษและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์/หน้าที่ใช้สอย

เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน ใช้ประดับตกแต่งบ้านให้สวยงาม เป็นของที่ระลึก เป็นของใช้ทั่วไป

ประวัติความเป็นมา

มะพร้าว เป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะในวิถีชีวิตของคนไทยได้นำมะพร้าวมาผูกพันกับชีวิตประจำวันมากมายหลายอย่าง นับตั้งแต่การนำมาบริโภค ปรุงอาหารคาวหวาน และนำส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ เช่น

ราก ใช้ทำสีย้อมผ้าและทำของใช้เครื่องประดับบ้าน เช่นตะกร้ากระเช้าดอกไม้ กรอบรูป ฯลฯ

ลำต้น ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ไม้กระดาน ฯลฯ

ทางมะพร้าว ใช้ทำรั้ว ทำฟืนฯลฯ

ใบมะพร้าว ใช้มุงหลังคา ทาภาชนะใส่ของ หมวก ของเด็กเล่น ฯลฯ

ก้าน ใช้ทำไม้กวาดก้านดอกไม้ประดิษฐ์ มู่ลี่ ตะกร้า ฯลฯ

รกมะพร้าว ใช้ทำเป็นของใช้ เช่น รองเท้า กระเป๋า หมวก กล่อง ฯลฯ

จั่นมะพร้าวใช้ทำโครงเรือน นำมาประดิษฐ์ของใช้ต่าง ๆ เช่น กรอบรูป เชิงเทียน ฯลฯ

ผลมะพร้าวส่วนที่เป็นเส้นใยและขุย ใช้ทำเบาะ เก้าอี้ ที่นอน พรมเช็ดเท้า เชือก ผสมดินเพาะชำ ตอนกิ่งต้นไม้ ฯลฯ ส่วนที่เป็นเนื้อใช้บริโภค น้ำมะพร้าว ใช้ดื่มแก้กระหาย ทำน้ำส้มสายชู ฯลฯ

ส่วนของลูกมะพร้าวอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ คือ “กะลามะพร้าว” เมื่อถูกมนุษย์เอาเนื้อออกไปรับประทานหมดแล้วก็เป็นเศษวัสดุที่ไม่ค่อยมีราคาค่างวดสักเท่าไร คนสมัยก่อนมักนำไปใช้ทำเชื้อเพลิง หรืออย่างดีก็คิดเอาไปทำเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น กระบวยตักน้ำ ถ้วย ชาม ฯลฯ ความสำคัญของกะลามะพร้าวในสมัยก่อนมีค่าไม่มากนัก

วัสดุที่ใช้ในการผลิต

๑. กะลามะพร้าว ๒. เศษไม้ ๓. กาบมะพร้าว ๔. ทางมะพร้าว ๕.ทะลายมะพร้าว ๖. จั่นมะพร้าว ๗. ราก/เหง้าไม้ไผ่ ๘. สายไฟฟ้า ๙. ปลั๊กไฟฟ้า ๑๐. หลอดไฟฟ้า ๑๑. เชือก

เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต

๑.เลื่อย ใช้ตัดวัสดุต่าง ๆ เลื่อยที่นิยมใช้กันได้แก่เลื่อยตัดเหล็กเนื่องจากกะลามะพร้าวมีความ

เหนียวและต้องการความละเอียดควรเลือกใช้ชนิดฟันละเอียด ๒๐- ๓๒ซี่ ต่อนิ้ว เลื่อยรอใช้ในการตัดไม้

เล็ก ๆ ผ่าเดือยใช้เลื่อยรอบากไม้ และส่วนที่ต้องการความละเอียดประณีต เลื่อยฉลุเป็นเลื่อยที่ใช้ในงาน

ตัดเจาะวงกลมและส่วนโค้งต่าง ๆ

๒.สว่านเป็นอุปกรณ์เจาะรูเพื่อใส่สลักยึดชิ้นส่วนหรือเจาะพื้นผิวของกะลาก่อนใช้เลื่อยฉลุ

ฉลุลายสว่านที่นิยมใช้กัน ได้แก่ สว่านมือ และสว่านไฟฟ้า บุ้ง ใช้ตกแต่งชิ้นงานมีลักษณะเหมือนตะไบ

ที่นิยมใช้กันอยู่มี ๓ขนาด ได้แก่ บุ้งแบน บุ้งท้องปลิง บุ้งกลม

๓. เครื่องขัดหินเจียร์(มอเตอร์หินเจียร์) หรือเครื่องเจียร์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือและมีทักษะในการทำงานพอสมควร เครื่องขัดจะมี ๒หัว(ด้านที่ขัด) สามารถนำมาดัดแปลงใช้งานได้หลายลักษณะ เช่น ใช้ขัดผิวภายนอก ขัดภายใน ใช้ตัดเป็นต้น

๔. เครื่องฉลุจิกซอร์ ๕. แท่นเจาะ ใช้สำหรับเจาะงานชิ้นใหญ่

๖. มอเตอร์ ๒ หัว ใช้สำหรับขัดผิวกะลาด้านนอก ๗. เครื่องตัดองศา ใช้สำหรับตัดไม้ชิ้นใหญ่

๘. ใบตัดไฟเบอร์ ใช้สำหรับบากกะลาให้เป็นร่อง

๙. เครื่องมือวัดใช้วัดระยะทั่วๆ ไป เช่น ไม้บรรทัด สายวัด ฉากเหล็กเครื่องมือแคะเนื้อ

มะพร้าวและขูดผิวกะลาด้านใน

๑๐. เหล็กแทงเป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ทำหน้าที่งัดหรือแทงให้เนื้อมะพร้าวออกได้สะดวก

๑๑. เหล็กขูดผิวกะลาด้านใน ประดิษฐ์เอง ใช้ขูดผิวกะลามะพร้าวด้านใน สามารถขูดในที่แคบๆ

และลึกได้

๑๒. วัสดุยึด คือกาวชนิดต่าง ๆ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของงาน ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่กาวลาเท็กซ์ กาวยาง กาวตราช้าง กาวร้อน

๑๓. ค้อนเป็นอุปกรณ์ใช้ตอก ไม่ค่อยใช้กับการทำผลิตภัณฑ์โดยตรงแต่เป็นเครื่องมือช่วยประกอบ

๑๔. กระดาษทรายใช้ขัดผิดภายนอกของกะลาให้เรียบเป็นมัน ถ้าทำเป็นจำนวนมากขัดด้วยเครื่องขัดและปัดด้วยเครื่องขัดเพื่อให้เกิดผิวมันวาวส่วนมากจะใช้ดินขัดเป็นตัวช่วย

๑๕. อื่น ๆ เช่นปากกา ดินสอ ยางลบ กระดาษ ตะไบหยาบ ตะไบละเอียด คันเลื่อยฉลุ ใบเลื่อยฉลุ ไขควง แลกเกอร์ (สีเคลือบเงา) พู่กันเบอร์ใหญ่ เทียนไข ตะปู เป็นต้น

ขั้นตอนกระบวนการผลิต/วิธีทำ(การทำโคมไฟดอกไม้จากกะลามะพร้าว)

ขั้นเตรียมการ ๑.ออกแบบผลิตภัณฑ์ ๒.เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและเตรียมพร้อมสถานที่

ขั้นการผลิต

การทำส่วนโคม (ส่วนที่ครอบโคมไฟด้านบน)

๑) นำมะพร้าวแก่จัด ๑ ลูก ปอกเปลือกให้สะอาด

๒) เขียนลายด้วยดินสอลงบนกะลา

๓) เจาะด้วยสว่านไฟฟ้า และจิกซอร์ไฟฟ้า ให้ได้ลายตามที่เขียนไว้

๔) ขัดด้านในด้วยกระดาษทราย ขัดด้านนอกด้วยแปรงขนเหล็ก

การทำฐานโคม

๑) นำกะลา ๑ ซีก มาทำลายขอบด้วยจิกซอร์ เพื่อให้เกิดลาย

๒) บากด้วยใบตัดไฟเบอร์ ให้เป็นร่อง เพื่อให้แสงไฟออกมาที่ใบ

๓) ขัดด้านในด้วยกระดาษทราย ขัดด้านนอกด้วยแปรงขนเหล็ก

การทำใบ

๑) นำเศษกะลา มาตัดเป็นรูปใบ

๒) บากด้วยใบตัดไฟเบอร์ ทำเป็นลายใบ ให้เหมือนธรรมชาติ

๓) ขัดด้านในด้วยกระดาษทราย ขัดด้านนอกด้วยแปรงขนเหล็ก

๔) นำไม้เสียบลูกชิ้นมาประกอบเป็นก้านใบ โดยทากาวร้อนและติดให้แน่น

การทำฐานล่าง

๑) นำเศษไม้มาตัดด้วยเครื่องตัดองศา ให้ได้ขนาดความยาว ประมาณ๓”

๒) เจาะรูด้วยแท่นเจาะ เพื่อใส่สายไฟ

๓) เจาะรูด้านข้างรอบ ๆ ด้วยสว่านไฟฟ้า เพื่อติดตั้งใบ ประมาณ ๘ รู

๔) นำใบที่ประกอบสำเร็จแล้วมาเสียบตามรูที่เจาะไว้

๕) นำสายไฟฟ้า ปลั๊กไฟฟ้า (พร้อมชุดไฟฟ้าทั้งชุด) มาประกอบเป็นโคมไฟ

ขั้นหลังการผลิต

๑) หลังจากผลิตเสรจ็จเรียบร้อยแล้ว เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ โดยเก็บไว้ในที่แห้งไม่อับชื้น ปราศจากปลวก

๒) ติดต่อร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดและต่างจังหวัด

๓) ทดลองออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากมะพร้าวและกะลามะพร้าวและวัสดุอื่น ๆ

ศึกษาจากเอกสารและตำรา และฝึกฝนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ให้เกิดทักษะความชำนาญ

Location
No. 85 Road พิทักษ์ธานี
Tambon ยะหา Amphoe Yaha Province Yala
Details of access
Reference นายอดินันต์ กาซอ
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา Email yala@m-culture.go.th
No. 37 Road สุขยางค์
Tambon สะเตง Amphoe Mueang Yala Province Yala ZIP code 95000
Tel. 073203511,073213916 Fax. 073203511
Website ้http://povince.m-culture.go.th/yala
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่