ความเป็นมาประเพณีตรุษไทเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ที่ถือปฏิบัติทั้งทางราชการและ "ประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นการทำบุญเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ตามแบบโบราณ เนื่องจากไทยกำหนดเปลี่ยนปีทางจันทรคติ ดังนั้น จึงถือวัน สิ้นเดือน 4 เป็นปีเก่า วันขึ้นเดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ จึงมีการทำบุญและมีการละเล่น เพื่อแสดงความยินดี ร่าเริง เฉลิมฉลองด้วยการกิน การดื่ม การเที่ยว การละเล่น ส่วนทางราชการเรียกพิธีตรุษนี้ว่า" พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์"เป็นพระราชพิธีที่กระทำเพื่อจะได้เป็นสวัดิมงคลแก่พระนคร พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการฝ่ายหน้า ข้าราชการฝ่ายใน ตลอดจนราษฎร ประเพณีตรุษไท เป็นแบบอย่างที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ คือ หมื่นอร่าม(ภูมิ) เดิมเป็นชาวนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ได้พาสมัครพรรคพวกอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบเมืองคอนสาร (อำเภอคอนสาร) จังหวัดชุยภูมิ เมื่อประมาณต้นรัชกาลที่ 1 หลังจากตั้งบ้านเรือนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้นำจารีตประเพณีที่เคยปฎิบัติที่บ้านเดิมของท่านมาปฎิบัติด้วย นั่นคือ ประเพณีเลี้ยงเดือน ประเพณีเลี้ยงปี และประเพณีตรุษไท
- ตรุษแปลว่า ตัดหรือขาด คือ ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี หมายถึง วันสิ้นปีผ่านไปแล้ว ซึ่งเดิมกำหนดวันสิ้นปีคือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับวัน นับเดือนทางจันทรคติ เป็นการถือคติของพราหมณ์ การทำบุญในวันสิ้นปีเนื่องในพิธีตรุษนี้ นับได้ว่าเป็นประเพณีที่มีมาช้านาน เป็นประเพณีที่ถือว่าเป็นนักขัตฤกษ์ใหญ่ สำหรับพระมหานครตลอดจนชาวบ้านทั่วไป มีพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ถึง 3 วัน คือ วันแรม 14 ค่ำ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 และขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5
ความสำคัญ
งานประเพณีตรุษไท อำเภอภูผาม่าน ประจำปี 2555 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-24 มีนาคม 2555 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น โดยมีกิจกรรม ดังนี้
- ประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ทำบุญตักบาตรที่วัดตามหมู่บ้าน
- การแสดงนิทรรศการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
- การจำหน่ายอาหารของกลุ่มแม่บ้าน
- ทำพิธีขอขมาผู้สูงอายุ/ประกวดเครื่องแต่งกายผู้สูงอายุ
- การประกวดขบวนแห่ประเพณีตรุษไท
- การประกวดผลผลิตทางการเกษตร
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
- การละเล่นกีฬาพื้นบ้าน
- การประกวดอาหารรสชาติอร่อย
- การแสดงมหรสพสมโภช