หลวงพ่อทันใจ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คูบ้านคู่เมือง ของชาวตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มาตั้งแต่ยังมิได้สร้างเขื่อนภูมิพล เพราะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นที่เคารพสักการะกราบไหว้ มาตั้งแต่บรรพบุรุษสืบ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้
หลวงพ่อทันใจที่กล่าวนี้แปลกกว่าที่อื่นๆ เพราะมี ๓ องค์ด้วยกัน หล่อด้วยทองลงหิน ปางมารวิชัย องค์ใหญ่หน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว สูง ๓๒ นิ้ว ประดิษฐ์บนฐาน ๒ ชั้น ฐานชั้นล่าง ต่อตีน ๓ ขา สูงประมาณ ๔ นิ้ว องค์กลาง หน้าตักกว้าง ๑๖ นิ้ว สูง ๓๑ นิ้ว ประดิษฐ์บนฐาน ๒ ชั้น องค์เล็ก หน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว สูง ๒๐ นิ้ว ประดิษฐ์บนฐาน ๒ ชั้น ชั้นล่างต่อตีน ๓ ขา สูงประมาณ ๓ นิ้ว
หลวงพ่อทันใจทั้ง ๓ องค์ เป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์สาม ซึ่งมีหลักฐานเชื่อถือได้ เพราะบ้านทุ่งจ๊ะสมัยนั้น เป็นอาณาจักรหนึ่งทางตอนใต้ ของเมืองสร้อย ซึ่ง "พญาอุตุม" เป็นเจ้าเมือง บ้านทุ่งจ๊ะสมัยนั้นคงมีหมู่บ้าน ๒ ฟากฝั่งแม่น้ำปิง และชาวบ้านทุ่งจ๊ะ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ชุมชนคงหนาแน่น กว่าชุมชนฟากแม่น้ำทิศตะวันตก เห็นได้จากมีวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นสมัยนั้น คือ วัดเล้ม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห้วยไคร้ ประมาณ ๑ กม. ส่วนวัดพระธาตุลอยเป็นวัดที่สำคัญ ตามคำบอกของผู้เฒ่า บอกสืบๆ กันว่าเจดีย์ได้บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของหลวงพ่อทันใจ เพราะวัดใดก็ตามถ้าเจดีย์ได้บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุแล้ว วัดนั้นต้องมีผู้สร้างหลวงพ่อทันใจคู่กับวัดไว้ ๑ องค์ เช่น วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ วัดพระธาตุหลวง จ.ลำพูน (วัดหริภุญชัย) เป็นต้น
สำหรับหลวงพ่อทันใจนี้ ถ้าปีใดเกิดความแห้งแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านทุกหมู่บ้านจะพร้อมใจกันอาราธนาหลวงพ่อ ออกแห่ โดยจัดเป็นขบวนธงนำหน้า ขบวนหลวงพ่อทันใจ ขบวนแห่ ออกแห่ไปตามหมู่บ้าน ชาวบ้าน ต่างนำดอกไม้ธูปเทียน บูชาหลวงพ่อทันใจ แล้วนำดอกไม้ ข้าวตอก ข้าวสาร โปรยใส่ขบวนแห่ พร้อมนำน้ำส้มป่อย สรงหลวงพ่อทันใจ และเล่นสาดน้ำกับผู้คนในขบวนให้เปียกปอนทุกคน เป็นพิธีแห่ขอฝน ผลปรากฏว่าฝนจะตกลงมา ทำให้ขบวนแห่และผู้คนเปียกไปตามๆกัน และภายหลังฝนก็ตกลงมา ทำให้ชาวบ้านได้ทำนาตามฤดูกาลต่อไป หลวงพ่อทันใจ ประดิษฐานที่วัดท่าเดื่อนาน ๕๐ กว่าปี จึงอาราธนาไปประดิษฐาน ที่วัดท่าโป่ง อีกประมาณ ๗ ปี
หลวงพ่อพระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ของชาวตำบลบ้านนา อำเภอสามงา จังหวัดตาก ตั้งแต่ยังไม่สร้างเขื่อนภูมิพล เพราะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีอายุถึง ๑,๔๖๕ ปี ีจึงเป็นที่เคารพสักการะกราบไหว้ มาตั้งแต่บรรพบุรุษสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้
หลวงพ่อพระเจ้าทันใจนี้แปลกว่าที่อื่นๆ เพราะมี ๓ องค์ด้วยกันหล่อด้วยทองลงหินปางมารวิชัย องค์ใหญ่หน้าตักว้าง ๑๙ นิ้ว สูง ๓๒ นิ้ว ประดิษฐานบนฐาน ๒ ชั้น ชั้นล่างต่อตีน ๓ ขาสูงประมาณ ๓ นิ้ว องค์กลางหน้าตักกว้าง ๑๖ นิ้ว สูง ๓๑ นิ้วประดิษฐ์บนฐาน ๒ ชั้น องค์เล็กหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว สูง ๒๐ นิ้ว ประดิษฐ์บนฐาน ๒ ชั้น ชั้นล่างต่อตีน ๓ ขา สูงประมาณ ๓ นิ้ว
หลวงพ่อพระเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์เป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์สาม ซึ่งมีหลักฐานเชื่อถือได้เพราะบ้านทุ่งจ๊ะสมัยนั้นเป็นอาณาจักรหนึ่งทางตอนใต้ของเมืองสร้อยซึ่ง "พญาอุตุม" เป็นเจ้าเมืองบ้านทุ่งจ๊ะ สมัยนั้นมีหมู่บ้านสองฝั่งแม่น้ำปิง และชาวบ้านทุ่งจ๊ะทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ชุมชนหน้าแน่นกว่าฟากแม่น้ำทิศตะวันตก มีวัด ต่างๆที่สร้างขึ้นในสมัยนั้นคือ วัดเล้ม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห้วยไคร้ประมาณ ๑ กิโลเมตร ส่วนวัดพระธาตุลอยเป็นวัดที่สำคัญตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าบอกสืบๆ กันมาว่าเจดีย์ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตูขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของ หลวงพ่อพระเจ้าทันใจ เพราะวัดใดก็ตามถ้าพระเจดีย์ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ววัดนั้นต้องมีผู้สร้างพระเจ้าทันใจคู่วัดไว้ ๑ องค์ เช่นวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน เป็นต้น
เมื่อชาวเมืองสร้อยและชาวหมู่บ้านอื่นๆ ถูกต้อนไปอยู่ จังหวัดราชบุรีและจังหวัดชัยนาท เพราะเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่าเมื่อปี พุทธศักราช ๒๓๑๖ ก่อนจะถูกต้อนลงมาชาวบ้านจึงเก็บสมบัติมีค่าซ่อนไว้ตามที่ต่างๆ เมื่อสงครามสงบผู้ที่อยู่ทางราชบุรี ชัยนาทจึงนำ ลายแทงปริศนาขุมทรัพย์มาค้นหาสมบัติ เช่น "จิกอยู่เหนือ เกลืออยู่ใต้ คิดไม่ได้ เลือดจะออกปากและเมื่อเจ๊าอยู่คอกควาย เมื่อขวาย อยู่ข้างรั้ว" เป็นต้น
เมื่อผู้คนถูกต้อนไปทำให้เมืองสร้อยและอาณาจักรกลายเป็นเมืองร้างตั้งแต่นั้นมาและชาวบ้านจำนวนหนึ่งหลบหนีเข้าป่า เมื่อบ้าน เมืองสงบแล้วจึงออกมาทำมาหากินตามเดิม ที่ไปอยู่ราชบุรีบางส่วนก็กลับมาร่วมสร้างบ้านเมือง วัดก็กลับมาเจริญอีกครั้งส่วนหลวงพ่อพระเจ้าทันใจมิได้นำไปด้วย แต่ได้นำไปไว้ที่ซุ้ม(โขง) วัดวังตาลดังกล่าวแล้วโดยชาวบ้านทุ่งจ๊ะเป็นผู้ช่วยกันดูแลรักษา
เมื่อมีงานขึ้นพระธาตุคือวันเพ็ญ เดือน ๘ เหนือ(เดือน ๖ ใต้) เป็นวันวิสาขบูชาชาวบ้านก็อาราธนาหลวงพ่อพระเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์ ไปร่วมพิธีขึ้นพระธาตุด้วยทุกครั้ง เมื่อเสร็จงานก็นำกลับไปประดิษฐานไว้ที่ซุ้มตามเดิม เฉพาะทางฝั่งตะวันออกขณะนั้นไม่มีบ้านเรือนราษฏรอาศัยอยู่เลย
ประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๖๙ ขุนจรูญเป็นหัวหน้าตำรวจไปตรวจท้องที่ตำบลบ้านนา จนสบตื๋นก็กลับ พอมาถึงเกาะหน้าวัดพระธาตุลอย ได้ออกคำสั่งให้ตำรวจไปด้วยกัน หามหลวงพ่อพระเจ้าทันใจกลับไปที่ระแหง จังหวัดตาก ฝ่ายชาวบ้านทุ่งจ๊ะผู้ดูแลหลวงพ่อพระเจ้าทันใจ เมื่อรู้ว่าหายไปแล้วจึงไปแจ้งให้ตุ๊เจ้าต๋า(หลวงตา) เจ้าอาวาสวัดท่าเดื่อทราบ ตุ๊เจ้าต๋าเป็นพระที่มีคนรู้จักมาก จึงทำหนังสือร่อนไปบอกข่าวว่าหลวงพ่อพระเจ้าทันใจหาย ขอให้สืบดูว่าใครจะนำไปขาย เมื่อขุนจรูญนำพระเจ้าทันใจไปถึงระแหงก็ไป เที่ยวขายปรากฏว่าไม่มีใครรับไว้ เพราะกลัวว่าจะเป็นผู้รับซื้อของโจร เมื่อไม่มีผู้ใดซื้อขุนจรูญกลัวเรื่องจะอื้อฉาวและมีความผิด จึงนำหลวงพ่อพระเจ้าทันใจย้อนขึ้นมาตำบลบ้านนาเพื่อจะส่งคืน โดยติดต่อตุ๊เจ้าต๋า เจ้าอาวาสวัดท่าเดื่อซึ่งขุนจรูญกับพวกจอดเรือพักแรม ณ ท้ายเกาะขี้เหล็ก(เกาะดอกเหล็ก) ปรากฏว่าพอกลางคืนประมาณ ๑ ทุ่มเศษอยู่ดีๆ ขุนจรูญก็มีอาการชักดิ้นชักงอจนถึงแก่ความตาย ปรากฏว่ามีรอยเขียวช้ำที่คอ
เมื่อหัวหน้าผู้ลักหลวงพ่อพระเจ้าไปทันใจ จึงเป็นที่โจษจันของชาวบ้านว่าถูกสิ่งศักดิ์สิทธิ์หักคอบ้าง ถูกเทวดาผู้รักษาหลวงพ่อพระเจ้า ทันใจลงโทษบ้าง และถูกพระเสื้อวัดหักคอตายบ้างเป็นที่เล่าลือกล่าวขานกัน เมื่อขุนจรูญตายแล้ว ตุ๊เจ้าต๋าจึงนิมนต์หลวงพ่อพระเจ้าทันใจไปไว้ที่ซุ้ม(โขง) วัดวังบ่ตาลตามเดิมต่อมาภายหลังคิดว่าถ้าเอาหลวงพ่อพระเจ้าทันใจไปไว้ที่ซุ้มเดิมคงไม่ปลอดภัยแน่จะต้อง
มีผู้ลักเอาไปอีก จึงได้อาราธนาหลวงพ่อพระเจ้าทันใจทั้ง ๓ พระองค์ไปประดิษฐานที่วัดท่าเดื่อโดยทำพิธีบอกกล่าวถึงเทพาอารักษ์ว่า การเอาไปไว้ที่นี้ไม่ปลอดภัยให้ทราบแล้วจึงอาราธนาหลวงพ่อพระเจ้าทันใจลงเรือแล้วแก้เชือกผูกเรือจะล่องเรือไปยังวัดท่าเดื่อ ปรากฏว่าเรือไม่ยอมขยับเขยื้อน เป็นที่อัศจรรย์ใจยิ่งนักเมื่อสำรวจหลวงพ่อพระเจ้าทันใจในเรือก็ได้รู้ว่านำมาเพียง ๒ องค์ ยังขาด
องค์เล็กอีกองค์หนึ่งจึงพากันจัดข้าวขันตอกดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาลาโทษ และขออาราธนาไปอยู่ที่วัดท่าเดื่อด้วยกัน เมื่อนำมาลงเรือ เรือก็เคลื่อนออกจากท่าอย่างง่ายดายตั้งแต่นั้นมาหลวงพ่อพระเจ้าทันใจจึงอยู่ในความดูแลของตุ๊เจ้าต๋าและพระในวัดท่า เดื่อสืบ ต่อไป
หลวงพ่อพระเจ้าทันใจนี้หากปีใดเกิดความแห้งแหล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านทุกหมู่บ้านจะพร้อมใจกันอาราธนาหลวงพ่อออกแห่โดยจัดขบวนธงนำหน้าขบวนหลวงพ่อพระเจ้าทันใจ ออกแห่ตามหมู่บ้านชาวบ้านต่างนำดอกไม้ธูปเทียน บูชา หลวงพ่อพระเจ้าทันใจแล้วนำข้าวตอกดอกไม้โปรยใส่ขบวนแห่ สรงน้ำหลวงพ่อทันใจและเล่นสาดน้ำกับผู้คนในขบวนแห่ ปรากฏว่าฝนจะตกลงมาทำให้ขบวนแห่และผู้ร่วมงานเปียกไปตามๆ กันและเมื่อฝนตกลงมาแล้วชาวบ้านจึงได้ทำนาตามฤดูกาลต่อไป
หลวงพ่อพระเจ้าทันใจ ประดิษฐานที่วัดท่าเดื่อนานประมาณ ๕๐ กว่าปี จึงอาราธนาไปประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าโป่งอีกประมาณ ๗ ปี เมื่อรัฐบาลสร้างเขื่อนภูมิพลพระสงฆ์และชาวบ้าน ก็อพยพลงมาอยู่ที่จัดสรรซึ่งทางรัฐบาลจัดสรรที่ดินและสร้างวัดชลประทานรังสรรค์ให้ และได้นำหลวงพ่อพระเจ้าทันใจมาประดิษฐานที่วัดชลประทานรังสรรค์ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบัน
เมื่อรัฐบาลสร้างเขื่อนภูมิพล พระสงฆ์ และชาวบ้านก็อพยพลงมาอยู่ที่บ้านจัดสรร ซึ่งทางราชการจัดสรรที่ดิน และสร้างวัดชลประทานรังสรรค์ให้ และได้นำหลวงพ่อทันใจ มาประดิษฐานที่วัดชลประทานรังสรรค์ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้มีการขุดเจาะเจดีย์องค์เดิมที่บ้านนา นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานในเจดีย์ วัดชลประทานรังสรรค์ ด้วยเช่นกัน ดังรายละเอียดมีในหนังสือ ตำนานพระธาตุลอยนั้นแล้ว
มานพ ชื่นภักดิ์
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ