ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 49' 43.0543"
13.8286262
Longitude : E 100° 13' 19.8001"
100.2221667
No. : 150832
โกรกกรากเจาะไม้
Proposed by. pratom Date 15 August 2012
Approved by. นครปฐม Date 16 August 2012
Province : Nakhon Pathom
1 445
Description

โกรกกรากเจาะไม้ หรือโกรกกรากเกลียวเป็นเครื่องมือสำหรับใช้เจาะไม้เพื่อตอกสลักหรือเจาะนำก่อนตอกตะปู โกรกกรากเจาะไม้มีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้ คือ แกนไม้ กระบอก ด้ามกด และคมเหล็ก แกนไม้ต้องใช้ไม้เนื้อแข็งประเภทไม้ประดู่ ไม้แดงไม้มะค่า ไม้ชิงชัน เป็นต้น เหลาไม้เป็นท่อนกลม ๆ ขนาดด้ามมีด ด้ามจอบมีความยาวประมาณ๑เมตร ใช้สิ่วเจาะเนื้อไม้ลึกเป็นเกลียวพันกัน ๓เกลียวโดยเว้นส่วนปลายและส่วนโคนโกรกกรากเจาะไม้ไว้ประมาณ๑๐–๒๐เซนติเมตร เพื่อทำด้ามไม้กดแกนไม้เกลียว ด้ามกดทำเป็นรูดรอบให้แกนหมุนได้สะดวกกระบอก เรียกว่าโปะรูดเกลียว ทำหน้าที่ดึงแกนเกลียวไม้ให้หมุนทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ตัดให้เหลือข้อไม้ตรงกลางใช้สิ่วทะลุข้อปล้องภายในเป็นรูกลวง กระบอกดังกล่าวต้องทำเป็นเกลียวสวมให้พอดีกับแกนไม้คมเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนเจาะไม้มักใช้เหล็กตะไบมีดเก่า ๆมาเผาไฟตีเหล็กให้มีคมแบนปลายเหล็กอีกด้านหนึ่งตีแบน ๆ เสียบเข้ากับแกนไม้ส่วนโคนโดยการกรอเนื้อไม้ให้เป็นร่องตีแผ่นเหล็กเข้าไปในร่องนั้นใช้ปลอกเหล็กรัดอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้แน่นและใช้ได้ทนทานยิ่งขึ้น
การใช้จะใช้มือหนึ่งกดด้าม กดข้างบนอีกมือหนึ่ง จับรูดกรบอกขึ้น ๆ ลง ๆให้สุดเกลียวแกนไม้จะหมุนกลับไปกลับมา ทำให้คมเหล็กเจาะไม้ลึกได้อย่างรวดเร็วโกรกกรากเจาะไม้หรือโกรกกรากเกลียวไม้ในปัจจุบันไม่มีใช้แล้วช่างไม้สมัยใหม่จะใช้สว่านมือและสว่านไฟฟ้าแทน

Location
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดสำโรง
No. เลขที่ ๒๑ Moo หมู่ที่ ๓
Tambon วัดสำโรง Amphoe Nakhon Chai Si Province Nakhon Pathom
Details of access
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดสำโรง
Reference nakhons pratomy Email nakhonpratom@yahoo.com
Organization วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม
No. เลขที่ ๒๑ Moo หมู่ที่ ๓
Tambon วัดสำโรง Amphoe Nakhon Chai Si Province Nakhon Pathom
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่