ต้นส้มเสี้ยว เป็นต้นไม้ที่พบในจังหวัดมหาสารคาม
ลักษณะทั่วไปไม้ต้นกิ่งรอเลื้อยขนาดเล็ก ยาวได้ถึง 10 เมตร ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมเตี้ย เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องยาวตื้นและลึกตามลำต้น บางครั้งล่อนเป็นแผ่นบาง เปลือกในสีชมพูอ่อน
ใบใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ กว้าง 5-9 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก 1/3-1/2 ของใบ แฉกแคบถึงกว้าง โคนใบมนหรือรูปหัวใจ แผ่นใบบาง หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนและต่อมน้ำมันสีน้ำตาล เส้นแขนงใบออกจากกลางโคนใบ 9-11 เส้น ก้านใบยาว 2-3 ซม.
ดอกออกรวมเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงคล้ายกาบแยกเป็น 2 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ปลายทู่ ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-10 มม. เกสรผู้ยาว 3 อัน เกสรเมียสั้น 5 อัน กลีบเลี้ยงหุ้มฐานดอกกลม แตกออกเป็นสองเสี้ยว
ผลผลเป็นฝักเมื่อแห้งแตกแบนรูปดาบ ช่วงปลายกว้างและโค้ง ปลายผลแหลม ผลกว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 7-14 ซม. เมล็ดแบนกลม 3-5 เมล็ด แก่สีดำ
ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
ใบใบผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้นต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นยาฟอกโลหิต และในอำเภอกุดรังใช้ใบอ่อนใส่ต้มไก่รสชาดกลมกล่อม