ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 44' 31.3591"
17.7420442
Longitude : E 103° 42' 4.9738"
103.7013816
No. : 155241
วัดพระคริสตประจักษ์นาบัว
Proposed by. สกลนคร Date 3 September 2012
Approved by. สกลนคร Date 8 September 2012
Province : Sakon Nakhon
0 1219
Description

จากบันทึกของมิสชันนารีและคำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่า บรรพบุรุษของชาวบ้านนาบัวส่วนหนึ่งอพยพมาจากเมืองเขมราฐและเมืองยโสธร จังหวัดอุบลราชธานีสมัยนั้น และมาตั้งรกรากบ้านเรือนปะปนกับชาวบ้านเดิมที่ตั้งอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งบริเวณแถบนี้สันนิฐานว่าเป็นบ้านเมืองเก่าของพวกขอมโบราณหรือพวกข่า ต่อมาชาวบ้านเกิดเจ็บป่วยและล้มตายกันมากจึงมีความเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของผีร้ายเป็นเหตุให้เกิดความกลัว เมื่อทราบว่ามีหมอสอนศาสนาฝรั่งไม่กลัวผี หากถ้าใครได้เข้ารีตกับฝรั่ง ผีไม่สามารถทำอันตรายหรือรบกวนได้เลย จึงเกิดความสนใจไปติดต่อกับหมอมิชชันนารีที่บ้านกุดจอกใหญ่ ตำบลวาใหญ่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก หมอมิชชันนารีนั้นคือบาทหลวงอัลเฟรด รองแดล อธิการโบสถ์วัดนักบุญยอแซฟคำเกิ้ม จึงได้รับสมัครชาวบ้านนาบัวเพื่อเข้ารีตพระคริสต์ศาสนาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดนี้ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๘๘ โดยบาทหลวงอัลเฟรด รองแดล เป็นผู้บุกเบิกและก่อตั้งวัดนี้ ต่อมาบาทหลวงอัลเฟรด รองแดลได้มอบหมายให้บาทหลวงเปโตร จานพิมพ์ไปสอนคำสอนแก่ชาวบ้านนาบัว ต่อมาก็มีบาทหลวงผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาอยู่ประจำเพื่อเผยแพร่คำสอน มีผู้คนที่เคยนับถือศาสนาพุทธก็มาเข้ารีตทางศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกลัวผีปอบ และบางรายถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบอยู่รวมกับคนอื่นไม่ได้ สำหรับตัวอาคารวัดได้สร้างหลังแรกขึ้นชั่วคราวที่บริเวณบ้านนายลิขิตฯ โดยบาทหลวงกองเต ต่อมาได้สร้างวัดหลังที่ ๒ ขึ้นด้วยไม้ที่บริเวณสนามวัดปัจจุบัน ปี ค.ศ. ๑๙๒๐ บาทหลวงยวง สต็อกแกร์ อธิการโบสถ์ได้สร้างวัดหลังที่ ๓ ซึ่งทำด้วยไม้หลังคามุงแฝก ชาวพุทธที่มาอยู่บ้านนาบัวได้เรียนคำสอนและได้รับศีลล้างบาป เป็นคริสตชนที่ดีและศรัทธาสืบต่อมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ปี ค.ศ. ๑๙๓๒ บาทหลวงบัปติสต์แท่ง ยวงบัตรี อธิการโบสถ์ เป็นเวลา ๑๘ ปีได้พัฒนาวัดและหมู่บ้านให้เจริญก้าวหน้าโดยได้ตัดถนนและวางผังหมู่บ้านอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปี ค.ศ. ๑๙๖๖ บาทหลวงปีแอร์ โกลาส์ มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส มาเป็นอธิการโบสถ์ ได้นำชาวบ้านสร้างวัดหลังที่ ๔ ด้วยไม้ โดยสร้างอย่างประณีตสวยงามมาก ทดแทนหลังเก่าที่ทรุดโทรมใช้ไม่ได้ พร้อมกับได้สร้างบ้านพักบาทหลวงและบ้านซิสเตอร์ เป็นอธิการโบสถ์นาน ๑๒ ปี ต่อมาปี ค.ศ. ๑๙๘๕ บาทหลวงสมพร อุปพงศ์ เป็นอธิการโบสถ์ ท่านได้สร้างโรงเรียนคำสอนและถังน้ำขนาดใหญ่สำหรับเก็บกักน้ำฝนเพื่อเอาไว้ใช้ในฤดูร้อน ปี ค.ศ.๑๙๘๘ บาทหลวงมีคาแอลทวีศิลป์ พงศ์พิศ อธิการโบสถ์ ได้มีการก่อสร้างศาลาประชาคม ปี ค.ศ.๑๙๙๓ บาทหลวงมีคาแอลวีรพงษ์ มังกาย อธิการโบสถ์ได้สร้างกำแพงและซุ้มประตูทางเข้าวัด ต่อมาปี ค.ศ. ๑๙๙๘ บาทหลวงสมยศ พาพรหมฤทธิ์ อธิการโบสถ์แต่ต้องเดินทางไปกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิฟปินส์เพื่อทำปริญญานิพนธ์ และต่อมามีการประชุมสภาอภิบาลวัดเห็นว่าพื้นที่ที่จะสร้างวัดหลังใหม่เล็กไปจึงได้ขุดและจัดทำสระแดง เพื่อจะเอาดินมาถมเพิ่มพื้นที่ให้ใหญ่และกว้างขึ้น ในปี ค.ศ. ๑๙๙๙ ได้เริ่มตอกเสาเข็มวัดหลังใหม่และแล้วเสร็จในปีถัดมา วัดพระคริสตประจักษ์นาบัว บ้านนาบัว หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองแวงใต้ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ประมาณ ๑๐ ไร่ มีบาทหลวงเป็นผู้ดูแลและอธิการโบสถ์มาแล้ว ๒๘ รูป มีสัตบุรุษประมาณ ๒,๐๐๐ คน ปัจจุบันบ้านนาบัวได้แบ่งการปกครองเป็น ๒ หมู่บ้านคือบ้านาบัว หมู่ที่ ๒ และบ้านนาบัวพัฒนา หมู่ที่ ๑๑ ทั้งสองหมู่บ้านจะนับถือศาสนาคริสต์เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนหนึ่งก็จะมีลูกเขยหรือสะใภ้ที่มาจากที่อื่นมาอาศัยอยู่และเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่ยังนับถือศาสนาพุทธก็ต้องไปเข้าวัดรุ่งพนาไพรที่ตั้งอยู่ไกลจากหมู่บ้านนี้ ประมาณ ๑ กม. (ผู้ให้ข้อมูลบาทหลวงดาเนียสขวัญ ถิ่นวัลย์ อธิการโบสถ์วัดพระคริสตประจักษ์นาบัว บ้านนาบัว ตำบลหนองแวงใต้ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร)

Category
Religious place
Location
วัดพระคริสตประจักษ์นาบัว บ้านนาบัว
Moo บ้านบัว
Tambon หนองแวงใต้ Amphoe Wanon Niwat Province Sakon Nakhon
Details of access
บาทหลวงดาเนียสขวัญ ถิ่นวัลย์ อธิการโบสถ์วัดพระคริสตประจักษ์นาบัว
Reference ว่าที่พันตรีประภาส สะท้านอิทธิฤทธิ์ Email praphat2555@gmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร Email sakon.culture@gmail.com
Road สกลก-กาฬสินธุ์
Tambon ธาตุเชิงชุม Amphoe Mueang Sakon Nakhon Province Sakon Nakhon ZIP code 47000
Tel. 042716247 Fax. 042716214
Website http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon/
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่