บริเวณว่านเหลือง เดิมมีสภาพพื้นที่เป็นป่าดงดิบ เป็นที่ราบสลับเนิน บริเวณที่เนินชาวบ้านมักจะปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ถั่วต่าง ๆ ส่วนที่ราบลุ่ม ชาวบ้านมักจะทำนา และในพื้นที่ทำนาจะมีว่านชนิดหนึ่งขึ้นมา มีสีเหลืองอร่ามสวยงาม และว่านชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "ว่านเหลือง" จนเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ และเมื่อมีการแยกหมู่บ้านจากหมู่ที่ ๑ ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นหมู่ที่ ๘ ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ผู้นำในชุมชนขณะนั้นจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านว่านเหลือง" จนถึงปัจจุบัน และในพื้นที่นี้ต่อมาประชาชนประกอบอาชีพในการทำสวนผลไม้ ร้อยละ ๘๐ เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง สละ เป็นต้น สำหรับต้นว่านเหลืองหมอพื้นบ้านในสมัยโบราณมักนิยมนำมาปรุงเป็นยาสมุนไพร รักษาโรคกระเพาะ ทางเดินอาหาร แผล อาการปวดบม ฟกช้ำ เป็นต้น ปัจจุบันยังคงพบว่านเหลืองในพื้นที่แต่มีจำนวนน้อยมาก
บ้านว่านเหลือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ลูกคลื่น มีแม่น้ำจันทบุรีไหลผ่าน มีลำน้ำลำคลองทั้งหมด ๕ สาย มีถนนลาดยางจำนวน ๒ เส้น ถนนลูกรังจำนวน ๑๒ เส้น และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน ๔ เส้น ปัจจุบันหมู่ที่ ๘ อยู่ในเขตการปกครองเทศบาลตำบลชากไทย
ว่านเหลือง (ขมิ้นอ้อย)
ชื่ออื่นๆ : ว่านเหลือง (กลาง) สากเบือ (ละว้า) ขมิ้นขึ้น (เหนือ) ละเมียด (เขมร)
นอกจากจะเป็นสมุนไพรแล้วยังสามารถนำมาใช้แต่งสีเหลืองของอาหารบางชนิด เช่น ข้าวเหนียวเหลือง
ขนมเบื้องญวน และยังนำมาย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้
ตำรับยา
๑. รักษาอาการท้องร่วงได้ ให้ใช้หัวของขมิ้นอ้อยสด ประมาณ ๒ แว่น นำมาบดผสมกับน้ำปูนใส ใช้รับประทานได้
๒. รักษาเสี้ยน หนามตำ โดยการนำขมิ้นอ้อยมา ๕ แว่น ข้าวเหนียวสุก ประมาณ ๑ กำมือ ดอกชบา ๕ ดอก ใช่ตำพอก สามารถดูดเสี้ยนและหนองออกจากแผลได้
๓. รักษาแผล ใช้ขมิ้นอ้อยที่หุงในน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใส่ แผลใหายเร็ว เพราะขมิ้นอ้อยเป็นยาฝาดสมานด้วย
๔. รักษาฝี ถ้าเป็นฝีหัวเดือน ให้นำใบไผ่เผ่าไฟให้ใหม้ส่วนหัวขมิ้นอ้อยนั้น นำมาตำด้วยกัน แล้วใช้น้ำเป็นกระสายยา และใช้ได้ทั้งกินและทา หรือพอกด้วยก็ได้
๕. รักษาอาการปวดบวม ฟกช้ำ นำขมิ้นสด ๆ นำตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกที่บวม บรรเทาอาการปวดข้อ ฟกช้ำบวม
๖. รักษาอาการเป็นหวัด นำหัวขมิ้นอ้อย พริกหาง อบเชยเทศ นำมาต้มและเติมน้ำผึ้งนำมารับประทานได้
สรรพคุณ ของขมิ้นอ้อยหรือว่านเหลือง (คนจันทบุรีจะเรียกว่าว่านเหลือง) โดยการตัดดอก แล้วผ่าครึ่ง ต้มกับน้ำร้อนเดือดๆๆ แล้วนำมารับประทานกับน้ำพริกจะช่วยลดอาการปวดท้อง ได้ผลดี ส่วนหน่ออ่อนๆ ที่เพิ่งแตกหน่อออกมานั้น ทำความสะอาดแล้วนำมาต้มจิ้มน้ำพริก จะช่วยลดอาการท้องร่วงได้เช่นกัน
ที่มา :http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=25.0