ประวัติความเป็นมาของการก่อพระเจดีย์ทรายเมื่อครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังแคว้นโกศลพระเจ้าปเสนทิโกศลชักชวนพุทธบริษัทบริวารชายหญิงสร้างและก่อพระเจดีย์ทรายเพื่อต้อนรับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอธิษฐานเป็นพุทธบูชา มีการปักธงทิว และปักฉัตร 4 ทิศ 9 ชั้นการก่อพระเจดีย์ทรายโดยทั่วไปประเพณีการก่อพระเจดีย์ทรายจะทำในวันใดวันหนึ่งระหว่างวันที่ ๑๓– ๑๕เมษายน โดยการขนทรายมาก่อเป็นรูปเจดีย์หรือสัตว์ต่างๆ ปักธงหลากสี มีธูปเทียนและดอกไม้เป็นเครื่องบูชาพระเพื่อใช้หนี้ธรณีสงฆ์ที่ทรายติดมือติดเท้าเวลาเราไปวัดทรายที่ก่อพระเจดีย์นำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ต่างๆหรือถมพื้นต่อไปถือเป็นการทำบุญอีกลักษณะหนึ่งที่ได้ทั้งบุญความสนุกสนานและความสามัคคีเป็นพุทธบูชาเช่นกันการก่อพระเจดีย์ทรายจึงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลวันสงกรานต์ที่มีมาช้านาน โดยกลอุบายให้คนรู้จักสามัคคี ร่วมแรง ร่วมใจกันทำกิจกรรมก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ได้ประโยชน์จาการกระทำนั้น คือเป็นการทำให้ถนนหนทางมีความสะดวกและเรียบร้อย สำหรับใช้ในการเดินทางสัญจรไปมา อีกทั้งเป็นการเชิญชวนให้คนร่วมกันทำบุญกุศล โดยใช้ศาสนาเป็นตัวเชื่อมให้คนรู้จักเสียสละด้วยความเต็มใจ และเป็นการสร้างสาธารณประโยชน์ให้แก่สังคมอีกทางหนึ่งด้วยในส่วนวัดโพธิ์ศรีทุ่ง อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี มักจัดงานประเพณีหลังเทศกาลสงกรานต์พิจารณาวันตามความเหมาะสมโดยชาวบ้านทุ่งฝนร่วมกันส่งเสริมสืบสานกิจกรรมการก่อเจดีย์ทรายเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการสืบสานและร่วมกันจรรโลงวัฒนธรรมที่ดีงามนี้ต่อไป