ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 52' 51.9679"
15.8811022
Longitude : E 104° 14' 27.1864"
104.2408851
No. : 161459
แกะสลักไม้
Proposed by. ยโสธร Date 27 September 2012
Approved by. ยโสธร Date 27 September 2012
Province : Yasothon
0 2201
Description

การแกะสลักไม้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบสาน สืบทอดมากจากบรรพบุรุษ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแกะสลักลวดลายบนไม้เนื้อแข็งซึ่งไม้ที่แกะได้งานละเอียดคือไม้ประดู่ ส่วนมากจะแกะสลักเป็นลวดลายเหมือนภาพพุทธประวัติ ซึ่งจะนำไปทำเป็นบานประตู หน้าต่าง โบสถ์ วิหาร เมื่อเสร็จช่างแกะสลักจะเป็นผู้นำไปติดตั้งให้และรับประกันหลังการติดตั้งถ้าเปิด - ปิดไม่ได้ก็สามารถติดต่อให้แก้ไขให้ได้

การแกะสลักไม้ จำเป็นต้องมีวิธีการแปลกออกไปแล้วแต่สภาพ เช่น การแกะบานประตูหน้าต่างอาจใช้ไม้แผ่นเดียวทำได้สำเร็จ แต่การแกะหน้าบัน พระที่นั่งโบสถ์มีขนาดใหญ่ วิธีการแกะจึงต้องเพลาะไม้หลายแผ่นเข้าด้วยกัน แต่อาจจะเรียงต่อกันโดยยึดพอที่จะแกะ เสร็จแล้วจึงถอดเป็นชิ้นส่วนนำขึ้นไปประกอบทีละแผ่น หรือลวดลายที่ต้องการแสดงรูปเกือบลอยตัวก็แยกแกะต่างหากตามแบบแล้วนำเดือย สลักติดเข้ากับตัวลายหน้าบันนั้น ๆ ต่อไป ในปัจจุบันการแกะสลักก็ยังคงยึดวิธีการแบบโบราณ แต่มีการวิวัฒนาการปรับปรุงเครื่องมือเข้ามาช่วย ก็คือการใช้เครื่องมือขุดพื้น การลอกแบบลงบนไม้ ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการปรุกระดาษแล้วโรยฝุ่น หรือใช้เขียนลงบนไม้ ก็ใช้พิมพ์เขียวแล้วทากาวผนึกลงบนไม้ แต่ละใช้ได้เฉพาะแกะให้รู้รูปร่าง แต่เมื่อโกลนหุ่นแล้วก็ต้องใช้วิธีการเขียนแบบเดิมซึ่งทำกันมาแต่โบราณ

ขั้นตอน

1. กำหนดรูปแบบและลวดลาย ออกแบบหรือกำหนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ สำหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำมาใช้แกะสลัก เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง

2. การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำมาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำมาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำกาว หรือน้ำแป้งเปียกไว้แล้วทำการตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำกระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้

3. การโกลนหุ่นขึ้นรูป คือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำดับเพื่อจะนำไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป
การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับตัวภาพ

4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อทำให้เกิดลวดลายซึ่งต้องใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุด การปาดและการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการ
การขุดพื้น คือการตอกสิ่วเดินเส้น โดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัดโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ฆ้อนตอก เวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ขุดชั้นแรกขุดตื้น ๆ ก่อน ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกซ้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่งถ้า ต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ เพราะมองไกล ๆ จะได้เห็น การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้น จัดตัวลายที่ซ้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นโคมลายชัดเจน ซึ่งก้าวก่ายกันในเชิงของการผูกลายเพื่อปรับระดับความสูงต่ำของแต่ละชั้นมี ระยะ 1 – 2 – 3 การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินเส้นภายในส่วนละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนละเอียด

เป็นการแกะสลักลวดลายบนไม้เนื้อแข็งซึ่งไม้ที่แกะได้งานละเอียดคือไม้ประดู่ ส่วนมากจะเป็นงานที่ทางคณะสงฆ์

เป็นผู้สั่งให้จัดทำไม้ก็เป็นของเจ้าภาพหามาเพื่อแกะสลักตามลวดลายที่ต้องการส่วนมากเป็นภาพพุทธประวัติซึ่งนำไป

ทำบานประตู หน้าต่างโบสถ์ วิหาร เมื่อเสร็จช่างแกะสลักจะเป็นผู้นำไปติดตั้งให้และรับประกันหลังการติดตั้งถ้าเปิด-

ปิดไม่ได้ก็สามารถติดต่อให้แก้ไขให้ได้

Location
บ้านนาสะไมย์
Moo หมู่ที่ ๑๓ บ้านนาสะไมย์
Tambon นาสะไมย์ Amphoe Mueang Yasothon Province Yasothon
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองยโสธร
Reference นายประจักษ์ เจริญบุตร
Organization สภาวัฒนธรรมตำบลนาสะไมย์
Moo หมู่ ๑๓ บ้านนาสะไมย์
Tambon นาสะไมย์ Amphoe Mueang Yasothon Province Yasothon ZIP code 35000
Tel. 08 9626 5890
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่