ประวัติความเป็นมา
ขนมช่อม่วงจัดเป็นอาหารว่างของคนไทยตั้งแต่โบราณ เป็นขนมที่ต้องใช้ความประณีตในการจับจีบตัวแป้งหลังการห่อหุ้มไส้แล้วให้มีลักษณะเป็นรูปดอกไม้ ทำให้มีลักษณะขนมที่ดูนุ่มนวล อ่อนหวาน แฝงความมีศิลปะของขนมไทยชาววัง ยิ่งรสชาติของไส้ที่มีเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น นำมาผัดกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ทำให้ขนมช่อม่วงเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยครบถ้วนและควรแก่การอนุรักษ์ไว้ แต่เนื่องจากวิธีทำที่ต้องผ่านการใช้มือในการจับจีบทำรูปร่างดังกล่าว และเป็นอาหารที่มีความชื้นสูง ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้ในปัจจุบันจะหารับประทานขนมช่อม่วงได้ยาก
วัสดุ/อุปกรณ์การทำขนมช่อม่วง
๑. แป้งข้าวเจ้า ๒ ถ้วย ๓. แป้งมัน ๒ ช้อนโต๊ะ
๒. น้ำลอยดอกมะลิ ๑ ๑/๒ ถ้วย ๔. ดอกอัญชัญ ๘-๑๐ ดอก
ขั้นตอนและวิธีการทำ
แร่งแป้ง ๒ ครั้ง ใส่น้ำลอยดอกมะลิทีละน้อย(ถ้าทำไส้คาวไม่ต้องใช้น้ำลอยดอกมะลิ ให้ใช้น้ำเปล่า
แทน) นวดไปเรื่อยๆ ประมาณ ๕ นาที พอเข้ากันดีจึงใส่น้ำที่เหลือลงทั้งหมด กรองด้วยผ้าขาวบางเทลงในกะทะทองเหลือง จากนั้นยกขึ้นตั้งไฟกลางกวนจนแป้งสุกแห้งดีและล่อนจากกะทะเป็นกลมๆ จึงตักใส่อ่างผสมที่จะนวดพออุ่นจึงนวดให้เหนียวนุ่มประมาณ ๕-๑๐ นาที เมื่อแป้งเป็นลูกกลม ๆ เท่า ๆ กัน เพื่อจะได้ขนมอันเท่า ๆ กัน เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑-๑ ๑/๒ แล้วแผ่แป้งออกให้เป็นรูปกรวยใส่ใส้แล้วปั้นทบครึ่งให้ริมทับกัน บีบแป้งให้ติดสนิท ใช้แหนบที่ทำขนมจีบ ครีบริมให้เป็นรอยหยักๆ ระบายพลิ้วขึ้น พลิ้วลงเรียงในลังถึง ที่ปูด้วยใบตองใบตองไว้แล้ว พรมน้ำให้ทั่วก่อนนำไปนึ่ง จากนั้นนำไปนึ่งในน้ำเดือด ๓ นาที ยกลงพรมด้วยกะทิจัดลงจาน