ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 30' 36.9162"
14.5102545
Longitude : E 102° 9' 8.1684"
102.1522690
No. : 164942
กลุ่มผลิตดอกไม้จันทน์คลองยาง
Proposed by. นิ๊งหน่อง Date 19 October 2012
Approved by. นครราชสีมา Date 22 October 2012
Province : Nakhon Ratchasima
0 711
Description

ประวัติความเป็นมา

“กลุ่มผลิตดอกไม้จันทน์”จัดตั้งกลุ่มตั้งแต่วันที่ 5มีนาคม 2555 โดยการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลครบุรีใต้ ครั้งแรกคือได้ไปเห็นที่อำเภอปักธงชัยทำกันในกลุ่ม จึงได้คิดกันทำรวมกลุ่มผลิตดอกไม้จันทน์ และทำพวงหรีด เริ่มจากจัดตั้งสมาชิกลงหุ้นกันได้ ๒๕ หุ้น โดยให้วิทยากรมาสอนวิธีการทำ ทำให้มีอาชีพเสริมสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในครอบครัว

ดอกไม้จันทน์ในการจัดทำพิธีฌาปนกิจศพ มีธรรมเนียมการใช้ดอกไม้จันทน์ควบคู่กับธูปทองและเทียนทอง เพราะเชื่อว่ากลิ่นหอมของดอกไม้จันทน์จะนำดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปสู่สรวงสวรรค์ เนื่องจากดอกไม้จันทน์เริ่มหายากขึ้น จึงมีผู้คิดค้นประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์เทียม จึงเปลี่ยนไปใช้วัสดุอย่างอื่นแทน เพราะหาง่ายและมีราคาถูก แต่แก่นแท้ของธรรมเนียมการใช้ดอกไม้จันทน์ก็ยังไม่เปลี่ยนไป ดอกไม้จันทน์แบบทั่วไปที่นิยมใช้กันมาเป็นแบบธรรมดาส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกกุหลาบ ดอกบานชื่น ดอกแก้ว มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก และมีสีสันตายตัวคือ สีขาว สีครีม หรือสีดำ แต่ในยุคปัจจุบันด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างสีสันสีต่าง ๆ ของดอกไม้จันทน์ ทำให้ดอกไม้จันทน์มีความแปลกในรูปแบบ สีสันที่เปลี่ยนไป

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ทำเป็นรูปดอกกุหลาบ ดอกบานชื่น ดอกแก้ว และมีสีสันหลากสี เช่น สีขาว สีครีม สีฟ้า สีเหลืองอ่อน สีม่วง สีชมพู หรือสีดำ

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

กำลังขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา

ความสัมพันธ์กับชุมชน

๑. ครูภูมิปัญญา

๒. แรงงาน – ค้าจ้าง-อาชีพ –รายได้

๓. สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน ตำบล

๔. ความภาคภูมิใจ

วัตถุดิบและส่วนประกอบการทำพวงหรีด

๑ โครงฟางรูปหัวใจ

๒. กระดาษสีพลาสติก

๓. ไม้เสียบลูกชิ้น

๔. ยางอีลาสติก สำหรับมัด

๕. ดอกบานชื่น ๑๐๐ ดอก

๖. ผ้าลูกไม้ สำหรับทำโบว์

๗. โฟมหนา ๐.๕ นิ้ว

๘ กระดาษเขียนชื่อ

. ขั้นตอนการผลิต

๑. แบ่งกระดาษสี ๑ แผ่นออกเป็น ๑๒ ส่วน จำนวน ๓ แผ่น ๓๖ ชิ้นเล็ก

๒. มัดกระดาษเป็นรูปพับติดกับไม้เสียบลูกชิ้น

๓. นำโครงฟางแขวนไว้กับขาตั้ง เสียบโบว์ด้านล่าง เสียบกระดาษสีรูปพัดโดยรอบ

๔. นำดอกบานชื่น เสียบจากข้างบนลงมาหาโบว์ที่ติดไว้ข้างล่าง เป็นชั้นที่ ๑

๕. แถวต่อมาเสียบดอกบานชื่นสับหว่างกันจนดอกไม้หมด (๑๐๐ ดอก) จัดให้ได้รูปทรงสวยงาม

วัตถุดิบและส่วนประกอบการประดิษฐ์ดอกกุหลาบ

๑. กลีบดอกกุหลาบอัดสำเร็จรูป ๕ กลีบ

๒. หนวดไม้จันทน์

๓. ไม้เสียบลูกชิ้น เบอร์ ๕ ยาว ๕ นิ้ว ทำก้าน

๔. กระดาษย่นพันก้าน

๕. กระดาษทำเกสร

๖. กรรไกร, กาว, ด้าย

ขั้นตอนการผลิตดอกกุหลาบ

๑. ตัดหนวดไม้จันทน์ยาว ๑.๕ นิ้ว

๒. ตัดกระดาษสียาว ๔ นิ้ว กว้าง ๒.๕ นิ้ว เป็นเกสร

๓. ตัดหนวดไม้จันทน์ทากาวติดกับไม้เสียบลูกชิ้น และพันด้วยเกสรที่ตัดไว้

๔. นำกลีบสำเร็จมาแยกออกจากกันและตกแต่งให้เป็นกลีบกุหลาบพร้อมที่จะเข้าดอกมาเข้าดอก ชั้นที่ ๑ มัดด้วยด้ายให้แน่น เป็นกลีบที่ ๑ และกลีบที่ ๒ เข้าให้อยู่ตรงข้ามกัน จัดรูปให้สวยงาม

๕. นำกลีบดอกที่เหลืออีก ๓ กลีบ มาใส่สับหว่างกันให้ระยะ ๓ กลีบอยู่ห่างเท่ากัน มัดด้ายให้แน่น

๖. นำกระดาษย่นสีดำมาตัดความกว้าง ๑ เซนติเมตร พันก้านยาวประมาณ ๒ นิ้ว จะได้ดอกกุหลาบเรียบร้อยแล้ว ๑ ดอก

๒.๓ เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

เป็นการออกแบบในแนวคิดสร้างสีสันสวยงาม

๓.๑ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

นางปรานอม มงกุฎกิ่ง ประธานกลุ่มผลิตดอกไม้จันทน์ บ้านเลขที่ ๒๓๑ ม.๓ ต.ครบุรีใต้ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา โทร.๐๘-๗๙๓๑-๖๒๕๔

๓.๒ แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

๑. ศูนย์บริการเศรษฐกิจชุมชนอำเภอครบุรี จ.นครราชสีมา

๒. นางปรานอม มงกุฎกิ่ง ประธานกลุ่มผลิตดอกไม้จันทน์ บ้านเลขที่ ๒๓๑ ม.๓ ต.ครบุรีใต้ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา โทร.๐๘-๗๙๓๑-๖๒๕๔

Location
กลุ่มผลิตดอกไม้จันทน์คลองยาง
No. ๒๓๑ Moo ๓ บ้านคลองยาง
Tambon ครบุรีใต้ Amphoe Khon Buri Province Nakhon Ratchasima
Details of access
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอครบุรี
Reference นางฝากฝัน อรรณพานุรักษ์
Organization สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอครบุรี
No. ๑ ที่ว่ากา Moo ๓ บ้านแชะ
Tambon แชะ Amphoe Khon Buri Province Nakhon Ratchasima
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่