ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 1' 12.576"
17.02016
Longitude : E 99° 44' 1.32"
99.7337
No. : 169022
กระต่ายขูดมะพร้าว
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. สวจ.สุโขทัย Date 29 May 2020
Province : Sukhothai
0 3405
Description

เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ กระต่ายขูดมะพร้าว ประเภทและลักษณะ กระต่ายขูดมะพร้าว บางพื้นบ้านเรียกว่า กระต่ายขูด หรือเหล็กขูดก็มี ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับขูดมะพร้าวที่ยังไม่ได้กะเทาะเปลือกออก ประวัติความเป็นมา การเรียกชื่อกระต่ายขูดมะพร้าวอาจเนื่องมาจาก ฟันที่ใช้ขูดเนื้อมะพร้าวมีลักษณะเป็นซี่ยาวเหมือนฟันกระต่าย ประกอบกับการทำโครงไม้ซึ่งใช้เสียบฟันขูดและนั่งเวลาขูดมะพร้าว มักทำเป็นตัวกระต่ายมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น แม้ว่าจะมีการประดิดประดอยโครงไม้เป็นตัวแมว สุนัข นก หนู สิงห์ เต่า ตะกวด ก็ตาม ชาวบ้านจะเรียกรวมว่า “กระต่ายขูดมะพร้าว” เดิมทีเดียวการขูดเนื้อมะพร้าวคั้นกะทิ จะใช้ช้อนทำจากกะลามะพร้าวขูดให้เป็นฝอย ต่อมาทำเป็นฟันซี่โดยรอบ บางแห่งใช้ซีกไม้ไผ่บากรอยเป็นซี่สำหรับขูดมะพร้าว จนกระทั่งเมื่อมีการใช้เหล็กมาทำของใช้ในครัวเรือน จึงได้ตีเหล็กแผ่นบาง ๆ ตัดรูปโค้งมน ใช้ตะไบถู ทำซี่ละเอียดปลายเหล็กคมเรียกว่า “ฟันกระต่าย” นำส่วนเหล็กขูดฟันกระต่ายนี้ไปประกบหรือเข้าเดือยกับรูปตัวสัตว์ที่เตรียมไว้ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง เหล็กขูด วิธีทำ วิธีการขูดมะพร้าวของชาวบ้านจะขูดเบา ๆ ไม่กดแรงเกินไป เพราะจะทำให้คั้นกะทิยาก หากขูดเบา ๆ แล้วเนื้อมะพร้าวจะเป็นฝอยละเอียด คั้นน้ำกะทิง่ายและได้ปริมาณมากกว่าด้วย มีรสดี นั่นเอง บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต ปกติการขูดมะพร้าวใช้ปรุงอาหารเฉพาะครอบครัวต้องขูดในระหว่างเตรียมอาหารขณะนั้น ไม่นิยมขูดเนื้อมะพร้าวไว้ล่วงหน้านาน ๆ เพราะจะทำให้เนื้อมะพร้าวเหม็นบูด ถ้ามีการทำบุญเลี้ยงพระ งานบวช งานแต่งงาน หรืองานศพ ชาวบ้านซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกันจะมาช่วยขูดมะพร้าวไว้จำนวนมาก เมื่อใช้ปรุงอะไรก็หยิบใช้ได้ทันที อาหารคาวหวานอร่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับกะทิมะพร้าวด้วย หากมีกะทิมันหรือที่เรียกว่า “แก่กะทิ” คือ คั้นกะทิปรุงอาหาร ชาวบ้านจะชอบเพราะ การขูดมะพร้าวโดยใช้กระต่ายขูดนับวันจะน้อยลง เพราะมีเครื่องมือขูดมะพร้าวชนิดใช้มือหมุน และแรงเครื่องยนต์เข้ามาแทนที่ ส่วนชาวบ้านก็ไม่ค่อยทำโครงไม้เป็นรูปสัตว์ชนิดอื่นอีก เพราะไม่มีเวลาประดิดประดอย เพียงแต่ใช้เหล็กแผ่น ๆ ทำเป็นเหล็กขูด และมีขาตั้งพื้นเชื่อมติดเป็นแผ่นเดียวกันเท่านั้น วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวบ่งบอกถึงภูมิปัญญาของผู้ทำว่าสามารถคิดสร้างสรรค์รูปแบบไปอย่างไรได้บ้าง สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

Location
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
No. เลขที่ 382
Tambon เมืองเก่า Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Details of access
Reference นายเหล็ง จันทร์ฉาย
No. เลขที่ 382
Tambon เมืองเก่า Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Tel. (055)633350, 087-201
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่