ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 11' 28.3164"
17.191199
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 23' 16.1988"
99.387833
เลขที่ : 169094
เครื่องเหล็กสำริด
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1914
รายละเอียด
เครื่องมือจัดเก็บข้อมูล 08 โบราณวัตถุ ชื่อ เครื่องเหล็กสำริด ประวัติความเป็นมา ขุดพบที่บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ได้รับการรวบรวมจากชาวบ้านและคณะกรรมการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด เพื่อจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ ความสำคัญ เป็นหลักฐานใช้ศึกษาเรื่องราวการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อน ลักษณะของสิ่งของ เป็นอาวุธในลักษณะต่างๆ เช่น ใบหอก มีด ง้าว สภาพเศรษฐกิจและสังคม ชุมชนถลุงเหล็กบ้านวังหาด เมื่อราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้วครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวางตั้งแต่บ้านวังหาดไปถึงดอยผาขัดห้าง เขตจังหวัดลำปาง สุจิตต์ วงษ์เทศ อ้างถึง ดร.ธิดา สาระยา (อดีตหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) อธิบายว่าเป็นชุมชนอุตสาหกรรมที่มีความถนัดด้านเทคโนโลยีถลุงเหล็กเพราะ ปริมาณของวัตถุโลหะอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบมากมายตลอดทั้งก้อน ตะกรันเหล็กจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า แหล่งโบราณคดีแหล่งนี้เป็นทั้งแหล่งขุด (mining area) และแหล่งถลุง (smelting area) ที่มีกระบวนการผลิตครบวงจร สภาพการเป็นแหล่งถลุงเหล็กขนาดใหญ่ของแหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด เปรียบเสมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชุมชนบริเวณสุโขทัย ซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานในเบื้องต้นว่า ความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติจำพวกแร่ธาตุได้ดึงดูดมนุษย์กลุ่มหนึ่งให้ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนี้และอาจกล่าวได้ว่าชุมชนในลุ่มน้ำยมมีพัฒนาการ ทางด้านโลหะกรรมเช่นเดียวกับชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและชุมชนเขตลุ่มน้ำ ลพบุรี ลุ่มน้ำป่าสักในภาคกลาง เงื่อนไขดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของ สุโขทัยสมัยเริ่มแรก เชื่อได้ว่ากระแสวัฒนธรรมทางเทคโนโลยีและการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่น ส่งผลเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมให้แก่ชุมชน เช่น มีความรู้พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีเฉพาะด้านชำนาญขึ้น ผลได้ทางเศรษฐกิจย่อมดึงดูดประชากรให้มาตั้งถิ่นฐานเพิ่มมากขึ้น และน่าจะได้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจในขอบข่ายกว้างขวาง เห็นได้จากปริมาณของลูกปัดที่คงใช้เป็นสื่อแลกเปลี่ยนจำนวนมาก วัตถุบางชิ้น เหรียญตรา คล้ายกับที่อื่น มนุษย์ในชุมชนนี้รู้จักเอาเหล็กมาแปรรูปเป็นเครื่องใช้ เครื่องมือเหล็กที่พบจำนวนมากอาจถูกนำไปใช้สกัดแร่ก็ได้หรืออาจนำไปใช้สลัก หิน ชาวบ้านเรียกเครื่องมือดังกล่าวนี้ว่า “เหล็กสกัด” แล้วกับพบก้อนโลหะ (ingot) จำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสื่อในการแลกเปลี่ยนแทนเงินตราหรือเป็นตุ้มหูประดับ ในบรรดาวัตถุโลหะที่พบนั้น มีเครื่องประดับเงินกับทองจำนวนหนึ่งและดาบโบราณ ลักษณะคล้ายที่พบในเวียดนามเหนือและจีนตอนใต้ เครื่องประดับสัมฤทธิ์คล้ายกำไลตกแต่งด้วยกระพรวนรูปตัว S ซึ่งอาจเป็นได้ว่าเป็นวัตถุในกระแสวัฒนธรรมดองซอนจากเวียดนามเหนือ กำไลสัมฤทธิ์จำนวนหนึ่งเนื้อบางเฉียบแสดงถึงฝีมือการหล่อที่ชำนาญหรือไม่ก็ มนุษย์ในชุมชนแห่งนี้ได้รับรู้และสัมผัสกับความรู้และเทคโนโลยีทางการผลิต หล่อสัมฤทธิ์ขั้นสูง อันแสดงถึงการมิได้เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นและอยู่อย่างโดดเดี่ยว ทว่าอยู่ในวงจรของการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ-วัฒนธรรมของกลุ่มคนในยุคเหล็ก สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม (ยุคสมัย) ยุคเหล็กสมัยก่อนประวัติศาสตร์ วัสดุที่ใช้ สำริด ลวดลาย การใช้ประโยชน์ในอดีต ใช้เป็นอาวุธ ผู้ครอบครอง หน่วยงานที่ดูแล พิพิธภัณฑ์โบราณคดีบ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย 64140 แนวคิดในการจัดเก็บ จัดแสดงภายในอาคาร
หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีบ้านวังหาด
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสิงห์ วุฒิชมภู
เลขที่ เลขที่ 6/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านวังหาด
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 080-681-1242 ,085-60
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่