ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 59' 34"
14.9927777777778
Longitude : E 100° 37' 7"
100.618611111111
No. : 169451
แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Lop Buri
0 1618
Description
แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้ อายุ โบราณสถานวัดพรหมทินใต้ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน นับตั้งแต่สมัยทวารวดี ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง อยู่ในภายในบริเวณวัดพรหมทินใต้ หมู่ที่ 11 ตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี สถานภาพของสถานที่ ในอดีตนั้นบริเวณโดยรอบนั้นเป็นท้องทุ่งนามาก่อน หลังจากที่มีการสร้างวัดจึงได้มีการขยายพื้นที่ของวัดให้มีพื้นที่เพียงพอ และความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนจึงได้มีการซื้อที่ดินถวายให้กับวัดจึง ได้มีการพัฒนาจากทุ่งนาให้เป็นวัดจนถึงปัจจุบัน และตั้งแต่มีการขุดค้นแต่งซากโบราณสถานแห่งนี้ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ก็มีการพัฒนาและปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณสถานและวัตถุตลอด ยังเป็นสถานที่ศึกษาประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคทวารวดี อยุธยา มาจนถึงยุคปัจจุบัน ในปัจจุบันได้มีหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนในการพัฒนา และนอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบซากโครงกระดูกที่มีอายุราว 3,000 ปีอีกด้วย ประกาศขึ้นทะเบียน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้า 906 วันที่ 2 สิงหาคม 2479 ความสำคัญในอดีต เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญหลายอย่างไร มีหลักฐานทางพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต มีการสำรวจพบวัตถุโบราณจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูป ลูกปัด กำไรเงิน กำไรทอง แหวน หยก ฯลฯ สภาพทางภูมิศาสตร์ โบราณสถานของวัดมีสภาพเป็นเนินดิน ที่ถูกสร้างทับลงบนตัวโบราณสถานเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เมืองพรหมทินใต้แผนที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีลำน้ำโพนทองไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออก เนินดินมีการปลูกทำไร่พริกและปรับเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ปัจจุบันยังคงเหลือแนวอิฐทางใต้ และคูเมืองเดิมบ้างทางทิศตะวันออก และมีพระอุโบสถตั้งอยู่ด้านบนเนินดิน มีฐานอิฐล้อมรอบตัวโบสถ์ ด้านหลังมีเจดีย์สามองค์แต่ปัจจุบันเหลือเพียงเฉพาะฐานของเจดีย์เท่านั้น และนอกจากนี้ยังมีใบเสมาที่มีสภาพสมบูรณ์ประมาณ 5 ใบที่สามารถยังมองเห็นลวดรายได้อย่างชัดเจน และภายในพระอุโบสถก็มีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านนิยมมาสักการบูชาอยู่เสมอ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม คำเล่าว่าเมื่อประมาณร้อยกว่าปีได้มีชาวอิสานที่เดินทางมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อ ทำการค้าวัวควาย และได้ตั้งหลักปักฐานอยู่ที่นี่จนกลายเป็นหมู่บ้านและสืบลูกสืบหลานมาจนถึง ปัจจุบัน และในปัจจุบันชาวบ้านยังนิยมใช้ภาษาลาวใน การพูดคุยและสนทนากันอยู่ และมีการสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน น่าเป็นที่ชื่นชมว่าชาวบ้านยังคงอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นเอาไว้อยู่เสมอ ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานทางพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต มีการสำรวจพบวัตถุโบราณจำนวนมาก มีเศษภาชนะดินเผากระจัดกระจายบนเนินดินด้านทิศตะวันออกของวัดบ้านก้านเหลือง ประวัติความเป็นมา ประวัติการค้นพบเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2534 ที่ปรากฏข่าวว่ามีการค้นพบวัตถุโบราณจากการปรับพื้นที่เพื่อทำบ้านจัดสรรบริเวณบ้านก้านเหลือง ชาวบ้านที่ทราบข่าวก็มาขุดค้นโบราณวัตถุเพื่อนำไปขายเป็นจำนวนมาก กรมศิลปากรจึงได้ทำโครงการสำรวจ ศึกษา และเก็บข้อมูลทางวิชาการไว้ และในปี พ.ศ. 2535 หน่วยศิลปากรที่ 6 พิมาย กองโบราณคดี ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่เขตอีสานล่างในขณะนั้น ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี สถานที่สำคัญ เป็นแหล่งโบราณคดีที่เพื่อใช้ในการศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสน์ที่สำคัญและยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
Location
No. หมู่ที่ 11 Moo บ้านพรหมทินใต้
Tambon หลุมข้าว Amphoe Khok Samrong Province Lop Buri
Details of access
No. หมู่ที่ 11 Moo บ้านพรหมทินใต้
Tambon หลุมข้าว Amphoe Khok Samrong Province Lop Buri
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่