ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 24' 26.2116"
17.407281
Longitude : E 103° 14' 11.85"
103.236625
No. : 169691
ลายเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Udon Thani
1 3231
Description
ลายเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง เป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ภาชนะในยุคอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ 5,000 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งขุดค้นพบที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคต้น อายุ 5,600-3,000 ปี ใช้ลายเชือกทาบซึ่งคาดว่าเป็นลายที่ทำจากปอกัญชา ลายขูดขีด และการเขียนสี ยุคกลาง อายุ 3,000 ปี - 2,300 ปี เริ่มมีการขีดทาสีแดงบนภาชนะ ยุคปลาย อายุ 2,300 ปี - 1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายสวยงามกว่ายุคอื่นๆ ด้วยการเขีนลวดลายสีแดงจากสีที่เรียกว่าสีดินเทศ และลายส่วนใหญ่เป็นลายเรขาคณิต ลายสี่เหลี่ยม ลายวงกลม ลายก้านขด และลายก้นหอย กรมศิลปากร เห็นความสำคัญของอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์จึงได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาลายบ้านเชียงทั้งในด้านการปั้น การเขียนสี และรวบรวมผู้สนใจเรียนการปั้นหม้อและการเขียนสี จากชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบ้านเชียงเพื่อถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง ในปัจจุบันชาวบ้านเชียงได้ทำเครื่องปั้นดินเผาและเขียนสีลายบ้านเชียงตามแบบดั้งเดิมและคิดค้นลวดลายขึ้นใหม่เพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการสืบสานภูมิปัญญาจากอดีตร่วมกับการประยุกต์ตามแนวทางของปัจจุบันอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียง (ภาพและข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง)
Category
Visual Art
Location
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง
Moo บ้านเชียง
Tambon บ้านเชียง Amphoe Nong Han Province Udon Thani
Details of access
No. พิพิธภัณฑ์ Moo บ้านเชียง
Tambon บ้านเชียง Amphoe Nong Han Province Udon Thani
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่