ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 13' 28"
15.2244444444444
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 51' 36"
104.86
เลขที่ : 169898
พระแก้วไพฑูรย์ วัดหลวง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1966
รายละเอียด
พระแก้วไพฑูรย์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี ประดิษฐานอยู่ที่วัดหลวง ถนนพรหมเทพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองอุบลราชธานีเป็นอย่างมาก องค์พระแก้วไพฑูรย์เป็นหินธรรมชาติ แสงส่องผ่านได้ ตามประวัติไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่อยู่ในความครอบครองของบรรพบุรุษเจ้านายเมืองอุบลมาแต่อดีต ในสมัยเริ่มสร้างเมืองอุบล พระปทุมวราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ได้ถวายพระแก้วไพฑูรย์และพระแก้วบุษราคัมเพื่อให้ประดิษฐานไว้คู่กันที่วัดหลวงซึ่งเป็นวัดแห่งแรกของอุบลราชธานี ต่อมาเมื่อเจ้านายทางกรุงเทพมหานครเดินทางมาปกครองเมืองอุบลในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เจ้านายเมืองอุบลได้นำพระแก้วไพฑูรย์และพระแก้วบุษราคัมไปซ่อนไว้ เนื่องจากเกรงว่าเจ้านายทางกรุงเทพมหานครจะนำกลับเมืองหลวง จนกระทั่งเมื่อมีการสร้างวัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) พระบิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) ได้ไปเชิญเอาพระแก้วทั้งสองออกมาจากที่ซ่อน และนำพระแก้วบุษราคัมถวายแด่พระเดชพระคุณพระเทวธัมมี (ม้าว) ซึ่ง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) และเป็นลัทธิวิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ดังนั้นข้าหลวงจากกรุงเทพมหานครน่าจะมีความเกรงใจไม่กล้าที่จะขอเอาพระแก้วบุษราคัม พระแก้วไพฑูรย์ไปจากเมืองอุบลราชธานี ส่วนพระแก้วไพฑูรย์นั้น ทายาทของเจ้านายเมืองอุบลราชธานีได้นำไปเก็บรักษาไว้ เนื่องจากเป็นสมบัติอันล้ำค่าของบรรพบุรุษ ต่อมาภายหลังจึงได้นำมาถวายพระครูวิลาสกิจจาทร เจ้าอาวาสวัดหลวงให้เป็นสมบัติของวัดหลวงตามเดิม ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ พระแก้วไพฑูรย์เป็นหนึ่งในแก้วอันเป็นรัตนชาติ คือ เพชรดี มณีแดง เขื่องใสแสงมรกต เหลืองใสบุษราคัม ทองแก่กำโมเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาลมุดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์ หากจะยกองค์พระขึ้นส่องจะเห็นเป็นคล้ายสายฝนหยาดลงมาจากฟ้าอันเป็นนิมิตหมาย แห่งความอุดมสมบูรณ์ ฝนตกตามฤดูกาลของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของเมืองอุบลราชนี้มีพระแก้วบุษราคัม พระแก้วไพฑูรย์ จึงได้พากันเอาไปซ่อนเสียโดยนำออกจากวัดหลวงไปในสมัยนั้น ภายหลังทายาทเจ้าเมืองอุบลราชธานีเห็นว่าวัดหลวงไม่มีพระสำคัญจึงได้นำมา ถวายให้เป็นสมบัติของวัดหลวง และเป็นของคู่บ้านคู่เมืองสืบไป พระแก้วไพฑูรย์ จึงได้กลับมาประดิษฐานวัดหลวงตามเดิมดังที่เห็นอยู่ในขณะนี้
หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดหลวง ถนนพรหมเทพ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พระประเวศ ปริปุณฺโณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหลวง
เลขที่ วัดหลวง ถน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่