ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 24' 16.22"
15.4045055555556
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 33' 46.48"
105.562911111111
เลขที่ : 169934
กะต่า
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1978
รายละเอียด
กะต่า หรือ กะต้า ในภาษาถิ่นอีสาน คือ ภาชนะจักสานพื้นบ้านที่ใช้สำหรับใส่ของได้สารพัด ซึ่งทางภาษาไทยถิ่นกลางเรียกว่า ตะกร้า นั่นเอง ภาชนะประเภทนี้มีใช้กันทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย สามารถใช้ใส่ของได้หลายอย่าง และใช้ได้ทั้งการหิ้ว การหาบ หรือจะคอนด้วยไม้คานก็ได้ รูปทรงของกะต่าในภาคอีสานจะมีรูปทรงที่คล้ายกัน อาจมีเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แตกต่างกัน ส่วนใหญ่สานด้วยไม้ไผ่ ปากกลม ก้นสอบ ถ้ากะต่าที่มีหูสำหรับหิ้วทำด้วยไม้โค้งเป็นครึ่งวงกลมเหนือปาก จะเรียกว่า กะต่าฮวง หรือกะต่าวง แต่ถ้าใช้เชือกร้อยเป็นหูหิ้ว ก็จะเรียกว่า กะต่าสาย การสานกะต่าจะเริ่มสานที่ก้นก่อน แล้วค่อยๆ สานต่อขึ้นมาด้านข้างของกะต่า ด้วยลายธรรมดาเรื่อยไปจนถึงปากของกะต่า ซึ่งจะใช้ตอกเส้นเล็ก เพื่อความแข็งแรงทนทาน ตรงส่วนปากกะต่าจะใช้วิธีเก็บริม โดยสานซ่อนเข้าในตัวตะกร้า เสร็จแล้วจะทำหูตะกร้า เพื่อใช้หิ้วหรือหาบ โดยมากจะใช้ไม้ไผ่อีกชิ้นหนึ่ง โค้งเหนือปากตะกร้า แล้วผูกปลายทั้งสองเข้ากับขอบตะกร้า ชาวอีสานยังนิยมใช้กะต่ากันทั่วไป เพราะทำได้ง่าย มีน้ำหนักเบา และมีราคาถูกกว่าภาชนะอย่างอื่น ที่บ้านท่าล้ง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ก็สานกะต่านี้ใช้กันเองในครอบครัว และส่งออกขายไปยังคนนอกหมู่บ้านด้วย ซึ่งกะต่านี้เป็นของนายเสน่ห์ พึ่งป่า อยู่บ้านเลขที่ 3 หมู่ 4 บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 13 หมู่ 5
เลขที่ บ้านท่าล้ง
อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเสน่ห์ พึ่งป่า
เลขที่ เลขที่ 13 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านท่าล้ง
อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 084-498-0326
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่