ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 12° 25' 12.806"
12.4202239
Longitude : E 102° 31' 47.2901"
102.5298028
No. : 171138
ความเชื่อสำหรับหญิงหลังคลอด
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ตราด Date 22 November 2021
Province : Trat
0 442
Description

"ความเชื่อสำหรับหญิงหลังคลอด เป็นความเชื่อที่เรียกได้ว่ามีอยู่แทบทุกภาคของประเทศไทย แต่อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันในรายละเอียด สำหรับความเชื่อในจังหวัดตราดเกี่ยวกับหญิงหลังคลอด มีดังนี้

1. เรื่องของแสลง เชื่อกันว่าหญิงหลังคลอดจะต้องงดของแสลงอย่างน้อย 4เดือน ซึ่งของแสลงดังกล่าวคือ ของหมักดอง มะนาว ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว ขนมครก และน้ำแข็ง โดยคนโบราณเชื่อกันว่าหากไม่งดของแสลง จะทำให้เป็นผลเสียแก่ร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น เช่น หูรูดกระเพาะปัสสาวะเสื่อม จนทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น

2. ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ไฟ ซึ่งคนโบราณให้ความสำคัญกับการอยู่ไฟอย่างมาก ซึ่งแม่ลูกอ่อนจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยมีข้อกำหนดหลากหลายระหว่างการอยู่ไฟ โดยเฉพาะการอยู่ให้ครบวันตามที่กำหนดไว้ ถ้าอยู่น้อยวันเกินไปจะมีผลต่อร่างกายในภายหลัง คือเมื่อเห็นฝนตกตั้งเค้าก็จะมีอาการหนาวสั่น

3. ความเชื่อว่าถ้าต้องการมีน้ำนมมากให้กินแกงเลียงหัวปลี ซึ่งความเชื่อนี้เหมือนกับความเชื่อในภาคกลางแทบทุกจังหวัด

สำหรับความเชื่อสำหรับหญิงหลังคลอดโดยส่วนใหญ่เป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกายของแม่ที่ต้องเสียเลือดและกำลังไปค่อนข้างมากขณะคลอดลูก ซึ่งกฏเกณฑ์ต่าง ๆ มีการกำหนดขึ้นเพื่อให้แม่มีสุขภาพที่แข็งแรงในระยะยาว ไม่เพียงแค่เฉพาะเพื่อให้หายจากภาวะหลังคลอดเท่านั้น ซึ่งความเชื่อดังกล่าวนับว่าเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่เกี่ยวกับสุขภาพที่น่าศึกษาและค้นคว้าต่อไป ในปัจจุบันนี้ความเชื่อนี้ยังเป็นความเชื่อที่เข้มแข็งและมีคำตอบในเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น คนรุ่นใหม่จึงมักอยู่ไฟกันมากขึ้นแม้แต่คนในเมือง เพียงแต่รูปแบบและความเข้มงวดอาจเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย

Location
Province Trat
Details of access
Province Trat
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่