ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
You have logged out. Cultural Information Center You are not allowed to access this section.
Latitude : N 14° 27' 38.1802"
14.4606056
Longitude : E 99° 7' 54.1506"
99.1317085
No. : 17696
พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์
Proposed by. ขวัญดาว ศรีจันทร์ Date 27 January 2011
Approved by. กาญจนบุรี Date 20 January 2012
Province : Kanchanaburi
0 3756
Description

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี กล่าวตามประวัติความเป็นมาแล้ว "พระท่ากระดาน" นี้ตั้งชื่อตาม "วัดท่ากระดาน หรือ วัดกลาง" อันเป็นวัดสำคัญ 1 ใน 3 วัดของ "เมืองท่ากระดาน" เมืองเก่าแก่เมืองเดียวริมแม่น้ำแควใหญ่ที่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาเคียงคู่กับเมืองกาญจนบุรีเก่า และเมืองไทรโยค คือ เป็นเมืองที่มีเจ้าปกครอง อีกทั้งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องสู้รบกับกองทัพพม่าที่ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ในทุกคราว แต่ปัจจุบันลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ จึงถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ.2438 และลดฐานะเป็นหมู่บ้านและตำบลอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี "เมืองท่ากระดาน" มีวัดสำคัญ 3 วัดคือ วัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง (วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง เมื่อราว พ.ศ. 2495 ได้มีการขุดค้นหาโบราณวัตถุกันเป็นการใหญ่และได้พบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดกลางซึ่งเรียกชื่อเต็มว่า "วัดท่ากระดาน" นั้น ได้ปรากฏพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่สนิมแดงงามจัดและปิดทองมาแต่ในกรุทุกองค์ กอปรกับวัดนี้ตั้งอยู่ในส่วนกลางของเมืองท่ากระดานเก่าพอดี ชาวบ้านจึงเห็นเหมาะสมที่จะเรียกพระพิมพ์นี้ตามชื่อวัดว่า "พระท่ากระดาน" สถานที่ที่สันนิษฐานว่าเป็นที่สร้าง "พระท่ากระดาน" คือบริเวณหน้าถ้ำทางตอนเหนือของเมืองท่ากระดานเก่าขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งเดิมคงจะเป็นวัดเก่าแก่ เนื่องจากมีศาสนวัตถุที่ปรักหักพังและพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก และจากวัตถุโบราณที่พบ เช่น บาตรขนาดเขื่อง เตาดินเก่าๆหลายเตา ที่สำคัญคือปรากฏมีสนิมแดงงดงามมากตกอยู่เรี่ยราดบริเวณเตาและพบพระท่ากระดานทุกๆพิมพ์อีกด้วย จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นแหล่งสร้างพระท่ากระดานอย่างแน่นอน และเนื่องจากหน้าถ้ำมีต้นลั่นทมขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกพระท่ากระดานที่พบในบริเวณนี้ว่า "พระท่ากระดาน กรุต้นลั่นทม" นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบพระท่ากระดานตามบริเวณต่างๆ โดยรอบแต่มีจำนวนไม่มากนัก อาทิ วัดบ้านนาสวน (วัดต้นโพธิ์) อารามร้างตอนเหนืออำเภอศรีสวัสดิ์ วัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี วัดท่าเสา ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น "พระท่ากระดาน" มีพุทธลักษณะเค้าพระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม แข้งเป็นสัน และพระหนุแหลมยื่นออกมา ลักษณะเหมือน "พระอู่ทองหน้าแก่" อันเป็น "พุทธศิลปะสมัยลพบุรี" และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิด "สนิมไขและสนิมแดง" ขึ้นคลุมอย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่จะลงรักปิดทองมาแต่เดิม ดังนั้นข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษา "พระท่ากระดาน" ก็คือ สภาพสนิมไข สนิมแดง และรักเก่า ทองเก่า "พระท่ากระดาน" นั้นในสมัยโบราณเรียกขานกันว่า "พระท่ากระดาน เกศคด ตาแดง" อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะคือ มีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วน "ตาแดง" นั้นเนื่องจากพระท่ากระดานเป็นพระหล่อจากเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งพอได้อายุเนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมบนผิว "สนิมตะกั่ว" จะมีลักษณะเป็นสีแดง หนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสก็จะยิ่งมันวาว และบนสนิมแดงนี้จะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง และจาการเวลาที่ยาวนานดังกล่าวแล้วสนิมแดงนี้จะเป็นสนิมแดงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" ลักษณะเป็นตาตารางบนเนื้อสนิมแดง ตลอดจนบนสนิมไขซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่วขององค์พระ เอกลักษณ์อีกประการหนึ่งคือ "คราบปูนแคลเซี่ยม" อันเป็นหลักสำคัญสำหรับการพิจารณาพระแท้ของพระเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งเรียกว่า "พระชินสนิมแดง" "พระท่ากระดาน" มีทั้งหมด 2 กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ ทั้งสองกรุนี้จะแตกต่างกันที่พื้นหลังขององค์พระ "กรุเก่า" จะตัดติดเป็นขอบพื้นบ้าง ทำให้องค์พระแลดูใหญ่และล่ำสัน ส่วน "กรุใหม่" จะตัดติดขอบชิดกับแม่พิมพ์ขององค์พระ เห็นพระพักตร์และพระกรรณอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อดูพระท่ากระดานกรุใหม่จะมีขนาดเล็กกว่ากรุเก่า แต่ผิวพระและลักษณะแม่พิมพ์ด้านหน้าจะคมชัดกว่า ในอดีตนักนินมสะสมพระเครื่อง พระบูชา มักนำ "พระท่ากระดาน" ไปล้างผิวแคลเซี่ยมออกเพื่อให้เห็นสีของสนิมแดงและรอยแตกตามุ้งได้อย่างชัดเจนทั้งองค์ แต่ในปัจจุบันจะนิยมความบริสุทธิ์ขององค์พระเดิมที่ปราศจากการล้างหรือตกแต่งใดๆ ตำหนิแม่พิมพ์และรายละเอียดต่างๆ จึงถูกบดบังด้วยผิวรักปิดทอง สนิมแดง และแคลเซี่ยม

Category
Antiques
Location
วัดท่ากระดาน
Moo
Tambon ท่ากระดาน Amphoe Si Sawat Province Kanchanaburi
Details of access
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี
Reference พระครูสิริพุทธิคุณ
Organization วัดท่ากระดาน
Moo
Tambon ท่ากระดาน Amphoe Si Sawat Province Kanchanaburi ZIP code 71250
Tel. 0-3458-9166
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่