ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 182801
รอยพระพุทธบาทจำลอง วัดเสม็ดใต้
เสนอโดย orraphan วันที่ 7 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 6 มิถุนายน 2560
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
0 2407
รายละเอียด

รอยพระพุทธบาทจำลอง วัดเสม็ดใต้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 โดย นางสาวจำลอง สุขมาก เป็นผู้สร้างถวาย มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 0.60 เมตร ยาวประมาณ 1.30 เมตร เป็นโลหะหล่อ ที่บริเวณตรงกลางของรอยพระพุทธบาทมีปุ่มเป็นวงกลมคล้ายธรรมจักรสองชั้น มีนิ้วเท้ารวมทั้งหมดห้านิ้วและแกะเป็นรูปลายก้นหอย ส่วนพื้นของรอยพระพุทธบาททำเป็นช่องสี่เหลี่ยมและในช่องสี่เหลี่ยมแต่ละช่องจะมีรูปภาพที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา ด้านขอบนอกจะมีลายเป็นช่องสี่เหลี่ยมรอบทั้งสี่ด้าน มีภาพนูนต่ำแบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ รูปสัตว์ ได้แก่ ไก่ ลิง สุนัข วัว แพะ งู กระต่าย และม้า รูปต้นไม้ ได้แก่ ต้นข้าวและต้นไม้ นอกจากนี้ยังบริเวณรอบขอบฐานมีการแกะลายรูปดอกบัวหงายและดอกบัวคว่ำ

รอยพระพุทธบาทจำลอง วัดเสม็ดใต้ เก็บรักษาอยู่ที่หอสวดมนต์ เมื่อทางวัดมีงานเทศกาล ใดๆ เช่น งานประจำปีปิดทองไหว้พระ ก็จะยกรอยพระพุทธบาทจำลองออกมาให้ชาวบ้านได้ปิดทองรอยพระพุทธบาทกันเป็นประจำ

รอยพระพุทธบาท ถือเป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สำคัญประการหนึ่งของชาวพุทธ เป็นปูชนียวัตถุที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพนับถือกราบไหว้บูชาด้วยความศรัทธามาเป็นเวลานาน จึงมีการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นทั่วไป เป็นการสร้างขึ้นด้วยความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็น เจติยสถาน

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดเสม็ดใต้
เลขที่ 36 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
อำเภอ บางคล้า จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระครูปลัดมานพ ปริปุณโณ
บุคคลอ้างอิง พระครูปลัดมานพ ปริปุณโณ
เลขที่ 36 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล เสม็ดใต้ อำเภอ บางคล้า จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24110
โทรศัพท์ 087 9786459
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่