ใบหนาดจัดเป็นยาสมุนไพรประจำบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่น่าจะมีไว้ เพราะใบหนาดมีสรรพคุณ ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง จุกเสียด ใบหนาดจะมีกลิ่นหอมเหมือนกับพิมเสน เมื่อขยี้ใบดู จะได้กลิ่นหอมเหมือนพิมเสนเลย จึงนิยมนำมาสูดดมแก้วิงเวียนศีรษะ คนสมัยโบราณเมื่อเข้าป่าจะต้องไม่ขาดใบหนาดในกระเป๋าอย่างแน่นอน สรรพคุณของใบหนาดช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ช่วยขับลมแก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ห้ามเลือด ขับน้ำคาวปลา จึงนิยมนำมาใช้ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบหรืออบไอน้ำ และต้มผสมกับยาสมุนไพรอื่น ๆ ดื่ม ดังนั้นสมัยก่อนจึงมีใบหนาดปลูกตามบ้านกันมาก เพราะบ้านไหนมีหญิงคลอดลูกก็จะต้องใช้ใบหนาดกันเป็นจำนวนมาก
หนาด
ชื่อวิทยาศาสตร์:Blumea balsamifer DC.
ชื่อวงศ์:COMPOSITAE
ชื่อสามัญ:Ngai Camphor Trce.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นความสูงประมาณ 5-6 ฟุต ทั่วลำต้นมีขนสีขาวนุ่ม ลำต้นเป็นแก่นแข็ง
ใบใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลมเล็กน้อย ริมขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่ไม่เท่ากัน ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.2-4.5 ซม. ยาวประมาณ 10-17 ซม. หลังใบและใต้ท้องใบมีขนทั้ง 2 ด้าน
ดอกดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนจะเป็นสีเหลือง แต่พวกแก่กลีบดอกก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสีขาว
ผลผลมีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ มีเหลี่ยมอยู่ 10 เหลี่ยม ส่วนบนเป็นขนสีขาว ๆ
การขยายพันธุ์เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่มักขึ้นตามที่กว้าง ทุ่งนา หรือหุบเขาทั่วไป ขยายพันธุ์ ด้วยการใช้เมล็ด หรือผล
ส่วนที่ใช้
พิมเสน(กลั่นได้จากใบและยอดอ่อน) ใบและยอดอ่อน ราก
สรรพคุณของหนาดสามารถแยกออกเป็นส่วนได้ คือ
รากขับลม ทำให้การไหลเวียนของเลือดดี ขับถ่ายของเสีย ท้องร่วง แก้บวม ปวดข้อ รักษาแผลฟกช้ำ แก้ปวกเมื่อยหลังคลอด
ใบบำรุงกำลัง ทำให้การไหลเวียนของเลือดดี แก้บวม แผลฟกช้ำ แก้ปวดข้อ และกระดูก แก้กลาก แก้บิด ขับลม แก้ปวดท้อง ขับพยาธิ แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้หืด ห้ามเลือด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงจมูก
ต้นขับเสมหะ
ทั้งต้นขับปัสสาวะ ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ปวดท้อง แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้โรคหลอดลมอักเสบ และหืด