1. ชื่อ นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย
2.ภูมิลำเนา 255 หมู่ 1 บ้านท่าสว่าง ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
๓.ประวัติส่วนตัวและการศึกษา อ.วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ที่บ้านท่าสว่าง อ. เมือง จ. สุรินทร์ เกิดและเติบโตท่ามกลางญาติพี่น้องที่เป็นช่างทอผ้ากันทั้งหมู่บ้าน เริ่มต้นการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดสามัคคี ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสุรวิทยาคาร เรียนต่อระดับ ปวช. ที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ฯ และสำเร็จการศึกษาด้านศิลปะประจำชาติจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง กรุงเทพ
4 .ประวัติการทำงาน2537- 2538อาจารย์ สาขาจิตรกรรมโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ(วิทยาลัยในวังชาย)2540 - ปัจจุบันประธานกลุ่มทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ปัจจุบัน เป็น อาจารย์พิเศษมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษ สวนจิตรลดา๖. ความสนใจด้านงานช่างโบราณ อ.วีรธรรม ได้ซึมซับงานช่างทอผ้าพื้นบ้านมาแต่วัยเด็ก และถือเป็นงานช่างไทยแขนงแรกที่ได้สัมผัส จนเกิดเป็นความประทับใจ และสนใจศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการอย่างทะลุปรุโปร่ง และกลายเป็นความชื่นชอบ นอกจากนั้น ในวัยเด็ก อ.วีรธรรมได้แสดงออกถึงความสนใจในงานช่างไทยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อไปวัดกับมารดา อ.วีรธรรมจะสนใจลวดลายไทยที่ประดับตามวัด จนนำมาปั้นเลียนแบบด้วยดินเหนียว เช่น ลายกนก และลายไทยต่าง ๆ แทนที่จะปั้นเป็นรูปสัตว์เหมือนเด็กในวัยเดียวกัน เมื่อ มีโอกาสได้เรียนศิลปะอย่างที่ได้ตั้งปณิธานไว้ตั้งแต่ยังเด็ก การเรียนด้านศิลปะประจำชาติ สาขาจิตรกรรมไทย ถือเป็นการเริ่มเตรียมพื้นฐานการเป็น “ช่าง” อย่าง จริงจัง นับแต่นั้นมา งานศิลปะไทยในทุกแขนง ก็ถูกสั่งสมและเรียนรู้จากอาจารย์ในสถาบันการศึกษาและผ่านประสบการณ์จากการ คลุกคลีกับครูช่างโบราณหลายแขนง อาทิ ช่างโบราณตามต่างจังหวัด ครู ช่างลายรดน้ำ ครูช่างทำเครื่องโขน ซึ่งหลายท่านได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว นอกจากนั้น อ.วีรธรรมยังได้สนใจศึกษาลวดลายและเทคนิคงานช่างโบราณของครูช่างผ่าน จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ วิหาร และศิลปะไทยแขนงต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงการศึกษางานศิลปะด้านต่าง ๆ ของประเทศในแถบแอเชียที่ส่งผลต่องานช่างในราชสำนักไทย ได้แก่ กัมพูชา และอินเดีย แม้จะเป็นผุ้ที่มีความเชี่ยวชาญในงานช่างไทยหลากหลายแขนง แต่ อ.วีรธรรม มักจะบอกว่า ตนเองเป็น “ช่างเขียน” เพราะช่างเขียน ถือเป็นงานช่างไทยที่เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์งานช่างไทยในทุกแขนง
เกียรติบัตรที่ได้รับ
1. รางวัลศีลปินอีสาน พ.ศ. 2546
2. รางวัลผู้สืบสานหัตถกรรมผ้าใหม่ พ.ศ. 2547
3. รางวัลยอดเยี่ยมกลุ่มอนุรักษ์หัตถกรรมงาน OTOP – SML – MODEL in Thailand. ปี พ.ศ. 2547
4. รางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ ปี พ.ศ. 2547