ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 14' 39.9998"
15.2444444
Longitude : E 105° 13' 44"
105.2288889
No. : 187347
ประวัติเมืองพิบูลมังสาหาร
Proposed by. champ045 Date 9 April 2013
Approved by. อุบลราชธานี Date 19 April 2013
Province : Ubon Ratchathani
0 1802
Description

มูลเหตุของการตั้งเมืองพิบูลมังสาหาร ปีพุทธศักราช ๒๔๐๒ พระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ ๓ มีภรรยา (หม่อม) ๗ คน มีบุตร-ธิดา รวมทั้งหมด ๓๑ คน และในจำนวนบุตรทั้งหมดมีหลายคน ซึ่งพอจะเป็นเจ้าเมือง อุปฮาด (อุปราช) ราชวงศ์ราชบุตร ทำราชการให้แก่บ้านเมืองได้ จึงปรึกษาคณะกรรมการเมืองต่างมีความเห็นพ้องกันว่า ๑) ท้าวธรรมากิติกา (จูมมณี) ๒) ท้าวโพธิสาราช (เสือ) ๓) ท้าวสีฐาน (สาง) ซึ่งทั้งสามคนนี้เป็นบุตรที่เกิดจากภารยาคนที่ ๒ ของพระพรหมราชวงศา(กุทอง) ชื่อ (นาง) หม่อมหมาแพง และ ๔) ท้าวขัติยะ (ผู) ซึ่งเป็นน้องต่างมารดาของท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) จึงสั่งให้จัดเรือ ๓ ลำและคนชำนาญทางน้ำเพื่อหาสถานที่สร้างเมืองใหม่ โดยได้ล่องเรือไปตามแม่น้ำมูลทิศตะวันตกแก่งสะพือ เห็นภูมิสถานเหมาะแก่การตั้งเมือง จึงได้ทำการบุกเบิกป่า ตั้งแต่หัวแก่งสะพือไปจนถึงห้วยบุ่งโง้ง (คุ้มวัดเหนือกลางในปัจจุบัน) พอที่จะตั้งบ้านเรือนได้ ๓๐ – ๘๐ ครอบครัว พระพรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานี ได้จัดราษฏรเข้าไปอยู่หลายครอบครัว พร้อมทั้งให้ท้าวไชยมงคล และท้าวอุทุมพร (ญาติเจ้าเมืองอุบลฯ)ไปอยู่ด้วย แล้งตั้งชื่อว่า “บ้านกว้างลำชะโด” เนื่องจากบ้านนี้ ตั้งอยู่ย่านกลางของ ๒ ห้วย คือห้วยกว้างอยู่ทางทิศตะวันออกและห้วยชะโดอยู่ทางทิศตะวันตก ห้วยกว้างห่างจากที่ตั้งอำเภอไปทางทิศตะวันออก ๔ ก.ม.ห้วยชะโดห่างจากที่ตั้งอำเภอไปทางทิศตะวันตก ๔ ก.ม.

ความสำคัญ

ปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างเมืองพิบูลมังสาหาร

๑. พระราโชบายของพระมหากษัตริย์ หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชการที่ ๑ เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเห็นว่าบ้านเมืองอยู่ในสภาพแตกกระจ่ายเป็นก๊ก เป็นเหล่า จึงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมไพร่พลให้เป็นกลุ่มก้อนเป็นเมือง จึงมีพระราโชบายให้จัดตั้งเมืองขึ้นซึ่งได้ถือเป็นแนวปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในรัชการต่อ ๆ มา

๒. การปกครอง พระพรหมราชวงศา(กุทอง) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร คนที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๘๘ – ๒๔๐๙) มีบุตรหลายคนเห็นว่าท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) เป็นบุตรคนหนึ่งที่มีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาเฉียบแหลมและกล้าหาญ เมื่อตั้งเป็นเจ้าเมืองแล้วปกครองอาณาประชาราษฏรให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขได้ และเป็นการขยายเขตการปกครองเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้มีบ้านเมืองติดต่อเนื่องกันมาก ๆ และบุตรหลานทั้งหลายก็ได้มีช่องทางรับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้มอบหมายให้ท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) และท้าวสีถาน ล่องเรือตามลำน้ำมูล เพื่อได้เห็นทำเลที่ตั้งเหมาะสมก็ได้สร้างบ้านแปลงเมือขึ้นเป็น “เมืองพิบูลมังสาหาร” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ พระราทานสัญญาบัตรเป็นพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) และเป็นเจ้าเมืองพิบูลมังสาหารคนแรกในเวลาต่อมา

๓. แหล่งอุดมสมบูรณ์ บริเวณที่ตั้งเมืองเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลที่อุดมสมบูรณ์ดินดี มีแม่น้ำสาขาหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำมูล จึงทำให้บริเวณนี้อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และสัตว์น้ำนานาชนิด

๔. เมืองหน้าด่าน ในขณะนั้นประเทศฝรั่งเศส ได้แผ่ขยายล่าอาณานิคมเพื่อหาเมืองขึ้นในประเทศเวียดนาม และเขมร ได้ขยายเข่ามาในลุ่มน้ำโขงตอนบน และมีท่าว่าจะรุกล้ำเช้ามาตามลำน้ำมูล ซึ่งหากมีการรุกล้ำดินแดนเกิดขึ้นจริงเมืองพิบูลมังสาหารจะเป็นเมืองหน้าด้านที่สามารถต่อต้านข้าศึกสกัดกั้นไม่ให้ศัตรูเข้ามาถึงเมืองอุบลราชธานีโดยง่าย

Category
Document/Book
Location
Tambon พิบูล Amphoe Phibun Mangsahan Province Ubon Ratchathani
Details of access
Reference นางวันทอง ไกรยรัตน์
Tambon พิบูล Amphoe Phibun Mangsahan Province Ubon Ratchathani
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่