ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 44' 8.2914"
13.7356365
Longitude : E 101° 6' 45.3042"
101.1125845
No. : 187625
การเพาะเลี้ยงปลากัด ตำบลบางแก้ว
Proposed by. amp-a-m-p*-* Date 11 April 2013
Approved by. ฉะเชิงเทรา Date 27 May 2013
Province : Chachoengsao
1 2698
Description

การเพาะเลี้ยงปลากัด ตำบลบางแก้ว เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ของชาวชุมชนหมู่ที่ 1 ,11,12 ตำบลบางแก้ว โดยมีการจัดตั้งเป็นชมรม ชื่อ “ชมรมปลากัดไทยบางแก้ว” มี นายสมยศ โท้เป้า เป็นประธานชมรม

“ปลากัด” เป็นปลาสวยงาม มีผู้นิยมเลี้ยงในขวด หรือในโหลขนาดเล็ก ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นเพราะเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขต และมักจะไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน ลักษณะของปลากัด จะมีสีสดเข้มสวยงาม แต่ถ้านำไปเลี้ยงกับปลาขนาดใหญ่ ปลากัดจะตื่นตกใจ เหมือนกับการแพ้คู่ต่อสู้ ปลาก็จะมีสีซีดดูไม่สวยงาม จึงจำเป็นต้องเลี้ยงปลากัดไว้เพียงตัวเดียวในภาชนะที่ไม่ใหญ่มากนัก ปลาก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองไว้ได้ ปลากัดก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม

การเพาะเลี้ยงปลากัด ของชุมชนตำบลบางแก้ว แต่เดิมจะเลี้ยงเฉพาะในบ่อดิน แต่ปัจจุบันมีการเลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์ด้วย เพราะสะดวกกว่าการขุดบ่อดิน ประหยัดเนื้อที่ พันธุ์ปลากัดที่เพาะเลี้ยงได้แก่

1. ปลากัดแก้มเขียว เป็นปลากัดลูกทุ่งอีสาน ลักษณะเด่น มีเกล็ดเขียว แก้มเขียว

2. ปลากัดหม้อ พันธุ์อินโดนีเซีย พันธุ์มาเลเซีย พันธุ์เวียดนาม

วิธีการเพาะพันธุ์ปลากัด

1. การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ ปลากัดจะสมบูรณ์เพศ เมื่ออายุ 4-6 เดือน สามารถนำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้การเลือกปลากัดเพศผู้ควรเลือกปลาที่คึกคะนอง

2. การเทียบพ่อแม่พันธุ์ เมื่อเลือกได้ปลาเพศผู้และเพศเมีย ที่สมบูรณ์มีลักษณะสีสันตามต้องการแล้วนำปลาใส่ขวดแก้ว ใส่ขวดละตัว แยกเพศกันไว้ก่อน แล้วนำมาตั้งเทียมกันไว้ โดยการวางขวดใส่ปลาให้ชิดกัน และไม่ต้องมีกระดาษปิดกั้น เพราะต้องการปล่อยให้ปลามองเห็นกัน ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า “การเทียบ”เทียบไว้ ประมาณ 4-7 วัน

3. การเตรียมภาชนะเป็นบ่อเพาะพันธุ์ ภาชนะที่จะใช้เป็นบ่อเพาะพันธุ์ปลากัด ควรมีขนาดเล็ก ส่วนมากนิยมใช้อ่างดินเผา กะละมัง ถัง หรือตุ่มน้ำขนาดเล็ก เพราะสะดวกกว่าการเพาะในบ่อ

4. การปล่อยปลาลงบ่อเพาะพันธุ์ เมื่อเทียบปลาไว้เรียบร้อยแล้ว จึงปล่อยปลาทั้งคู่ลงบ่อเพาะที่เตรียมไว้ต้องพยายามอย่าให้ปลาตื่นตกใจมากนัก จากนั้นหาแผ่นวัสดุ เช่น กระดาษแข็ง หรือแผ่นกระเบื้อง ปิดบนภาชนะที่ใช้เพาะ โดยปิดไว้ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ปากภาชนะ เพราะปลากัดมักชอบวางไข่ในบริเวณที่มืด เนื่องจากต้องการความเงียบสงบ

5. การตรวจสอบการวางไข่ของปลากัด ตามปกติแล้วถ้าปลามีการวางไข่ ก็มักจะวางไข่เสร็จก่อนเวลาประมาณ 10.00 น. ดังนั้น เมื่อปล่อยปลาลงบ่อเพาะแล้ว เช้าวันต่อมาค่อย ๆ เปิดดู ถ้าพบว่ามีไข่เม็ดเล็ก ๆสีขาวอยู่ที่หวอด และมีพ่อปลาคอยเฝ้าอยู่ แสดงว่าปลาวางไข่เรียบร้อยแล้ว จึงค่อย ๆ ช้อนเอาแม่ปลาไปเลี้ยงต่อไป ส่วนปลาเพศผู้จะคอยดูแลรักษาไข่

6. การอนุบาลลูกปลากัด การอนุบาลลูกปลากัด จะเริ่มจากที่ลูกปลาเริ่มหากินอาหาร อาหารที่เหมาะสมที่ให้ลูกปลากินในช่วงนี้ คือ ไข่แดง โดยใช้ไข่ไก่ หรือ ไข่เป็ด มาต้มให้สุก แล้วแกะเอาเฉพาะไข่แดงไปเลี้ยงปลาลูกปลากัด 1 ครอก จะใช้ไข่แดงเฉพาะถั่วดำ ต่อการให้ 1 ครั้ง จะเลี้ยงด้วยไข่แดง ประมาณ 3-5 วันลูกปลาจะมีขนาดโตขึ้น จะเปลี่ยนบ่ออนุบาลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจใช้กระลังพลาสติกขนาดใหญ่ หรืออ่างซีเมนต์และอนุบาลต่อโดยใช้ไรแดงเลี้ยง ประมาณ 15 – 20 วัน พร้อมมีการถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ

7. การเลี้ยงปลากัด บ่อเลี้ยงปลากัด ถ้าเป็นบ่อดิน ควรมีพื้นที่ขนาด 10 – 30 ตารางเมตร ถ้าเป็นบ่อปูนซีเมนต์ ควรมีพื้นที่ขนาด 2 - 6 ตารางเมตร มีความลึกประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร แยกปลาออกจากบ่ออนุบาล โดยเอาเฉพาะปลาเพศผู้มาเลี้ยง เนื่องจากปลาเพศผู้เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า และราคาสูงกล่าปลาเพศเมียมาก

การถ่ายทอดภูมิปัญญา

ปัจจุบัน ชมรมปลากัดไทยบางแก้ว มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากัดให้ผู้สนใจโดยทั่วไปโดยมี นายสมยศ โท้เป้า อยู่บ้านเลขที่ 18/3 หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากัดให้ผู้สนใจโดยทั่วไป

Location
ชมรมปลากัดไทยบางแก้ว
No. 12
Tambon บางแก้ว Amphoe Mueang Chachoengsao Province Chachoengsao
Details of access
เอกสารข้อมูลองค์กรการปกครองส่วนตำบลบางแก้ว
Reference สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
Road เรืองวุฒิ
Tambon หน้าเมือง Amphoe Mueang Chachoengsao Province Chachoengsao ZIP code 24000
Tel. 081-8743973
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่