ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 52' 54.0001"
14.8816667
Longitude : E 103° 29' 35.9999"
103.4933333
No. : 189111
ลูดอันเร(กระโดดสาก)การแปรเปลี่ยนสู่เรือมอันเร(รำสาก)ถิ่นอีสานใต้
Proposed by. pom_21 Date 7 May 2013
Approved by. สุรินทร์ Date 7 June 2013
Province : Surin
0 569
Description

" ลูดอันเร "แปล่ว่า"กระโดดสาก" "ลูดอันเร"เป็นชื่อเรี่ยกการละเล่นชนิดหนึ่งของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่มีลักษณะคล้าย กับ การรำกระกระทบไม้ของไทย ลาวกระทบไม้ แสกเต้นสาก การละเล่นประเภทนี้มีปรากฏกันทั่วไปบนภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ไม่ว่าจะเป็น ไทย ลาว เขมร ฟิลิปปิน อินโดนีเซีย

"ลูดอันเร(กระโดด) "นิยม เล่นปีละครั้งเท่านั้นซึ่งนิยมเล่นกันในเดือนเมษายนซึ่งตรงกับเดือนแคเจตของ เขมรอันเป็นการเฉลิมฉลองเทศการทรงน้ำพระขึ้นปีใหม่(จ๊ะตึกเปรี๊ยะแคเจตฉลอง ชนัมทมัย)หรือตรุษสงกรานต์ปีใหม่ไทยนั่นเอง

การกระโดดสากถือเป็นพิธีกรรมการละเล่น ที่ต้องมีการเคารพบูชาสากก่อนการละ เล่นอย่างเคร่งครัดของชาวไทยเชื้อสายเขมร เพราะการกระโดดสากข้ามไปมาถือเป็นการอันไม่สมควรซึ่งก่อนการละเล่นทุกครั้ง ต้องมีพิธีการเซ่นบูชาครูขอขมาสาก ซึ่งสากคืออุปกรณ์ในการใช้ตำข้าวเลี้ยงชีวิตมาแต่สมัยโบราณก่อนการมีโรงสี ข้าวดังเหมือนในยุคปัจจุบัน การนี้จึงถือเป็นพิธีกรรมที่ขาดมิได้

" ลูดอันเร"หรือ"กระโดดสาก"นั้นเป็นชื่อเรี่ยกที่การละเล่นนี้ที่มีมาแต่ดั้งเดิมของชาวไทยเชื้อสายเขมรซึ่งมาภายหลังจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อเรี่ยกว่า"เรือมอันเร"อันเป็นการประยุกต์และประดิษฐ์คิดค้นท่ารำให้เกิดความสวยงาม และมีการนำเอาการบรรเลงเครื่องดนตรีแบบอีสานใต้ที่เรี่ยกว่า"กันตรึม"เข้ามาประกอบด้วยเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ซึ่งมีการคิดค้นท่ารำขึ้นมาใหม่โดยกลุ่มนักอนุรักษ์ของจังหวัดสุรินทร์ซึ่ง ต้องการผนวกการละเล่นนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในการเเสดงงานช้างจังหวัดสุรินทร์ ในทุกๆปี จึงเป็นที่มาของการเรี่ยกชื่อการละเล่นนี้ใหม่เป็นที่รู้จักในการเเสดง" เรือมอันเร"หรือ"รำสาก"โดยคงเค้าโครงแบบแผนดั้งเดิมไว้เเละเพิ่มดิมท่ารำและจังหวะให้ทันสมัยขึ้นอย่างน่าสนใจ

ท่ารำจะประกอบด้วยท่าตามแบบโบราณดังนี้

1.ท่ากั๊จปกา(ท่าเด็ดดอกไม้)เป็นท่าการไหว้ครู ใช้บทเพลงกันตรึมไหว้ครู เช่น กั๊จปกา(เด็ดดอกไม้) มโลบโดง(ร่มมะพร้าว) อมตู๊ก(พายเรือ) ปลึง(ขวัญ)

2.ท่าเดิรโจล (ท่าการเดินเข้าสาก)เป็นท่าเตรียม ใช้บทเพลงกันตรึมในเพลงแห่ เช่น รำเป็ย(รำเพย) อาไย ฯลฯ

3.ท่าโจลอันเเร(ท่าการเข้าสาก)จะประกอบไปด้วยการใช้จังหวะเว็ยอันเร(กระทบสาก)ใน 2 แบบ ดังนี้

- จังหวะจืงมูย(ขาเดียว) โจลอันเรในท่า จืงมูย(ขาเดียว) เป็นการกระโดดเท้าเข้าสากข้างเดียวเเล้วก็ข้ามไป เป็นจังหวะช้า

- จังหวะจืงปีร(สองขา) โจลอันเรในท่า จืงปีร(สองขา)เป็นการกระโดดยกเท้าขึ้นลงสองขาขณะมีการกระทบสากหลายๆครั้ง เป็นจังหวะเร็ว

4.ท่าเดิรเจ็น (ท่าเดินออก)เสมือนท่าเตรียม ซึ่งต้องเข้าอันเรอีกรอบ จังหวะเพลงจะใช้เช่นเดีวกับท่าเดิรโจล(เดินเข้า)

5.ท่าเลีย(ท่าลา)เป็น ท่ารำที่เเสดงการสิ้นสุดการละเล่นนี้ บทเพลงที่ใช้ประกอบ เช่น ซาร์ปดาน(รื้อปะรำ) อมตู๊ก(พายเรือ) มโลบโดง(ร่มมะพร้าว )

ส่วนจังหวะเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบในท่า โจลอันเร(เข้าสาก) จะเป็นเพลงเบ็ตเล็ดต่างๆ

* จังหวะจืงมูยชึ่งเป็นจังหวะช้าพอดีกลางๆ ใช้เพลง อาไย แกวนอ เบริญ อันซองเเสนงนบ ฯลฯ

*จังหวะจืงปีรชึ่งเป็นจังหวะเร็วสนุกสนาน ใช้เพลง กันจันเจก (เขียดตะปาด) และเพลงเบ็ตเล็ดสนุกสนานต่างๆ

" การลูดอันเร" ในปัจจุบันรู้จักกันอย่างเเพร่หลาย ในชื่อ" เรือมอันเร"ซึ่ง มีพัฒนาการการละเล่นที่สนุสนานอ่อนช้อยสวยงามน่าชมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการแสดงและการละเล่นที่นับว่าหาชมได้ยากเข้าไปทุกทีแม้จะมีการผนวก เข้ากับงานช้างของทางจังหวัดสุรินทร์ถึงอย่างไรก็มีการเเสดงปีละครั้งเดียว และนอกจากนั้นโอกาสที่จะได้ชมก็จะจัดขึ้นเฉพาะในโอกาสงานแสดงหรือพิธีกรรม สำคัญๆต่างๆในอีสานใต้เท่านั้น

Location
Tambon ในเมือง Amphoe Mueang Surin Province Surin
Details of access
Reference chaichana boonsan Email pom_kung21@hotmail.com
Organization สนง.สุรินทร์
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่