ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 56' 34.75"
14.9429861
Longitude : E 101° 43' 11.3506"
101.7198196
No. : 190154
ภูมิปัญญาการเพาะเห็ดฟาง บ้านปรางค์เก่า
Proposed by. wanpen Date 7 June 2013
Approved by. นครราชสีมา Date 7 June 2013
Province : Nakhon Ratchasima
0 3811
Description

เห็ดฟาง เป็นพืชอาหารชนิดหนึ่งที่ชาวไทยนิยมรับประทานกันมาก นอกจากเป็นพืชที่มีรสชาติดีแล้วยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด เชื่อว่าหากรับประทานประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลดการติดเชื้อต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากเห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้ จุดเด่นของเห็ดฟางบ้านปรางค์เก่า คือ ดอกเห็ดฟาง

มีขนาดใหญ่ สีขาว มีน้ำหนัก รสชาติดี สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง เป็นต้น

ห็ดฟาง บ้านปรางคเีวภาพวัตถุดิบและส่วนประกอบ ได้แก่ กากเปลือกมันสำปะหลัง ผักตบชวา เปลือกถั่วเขียว ปุ๋ยยูเรีย รำอ่อน มูลสัตว์

(วัว,ควาย) แห้ง ปูนขาว เชื้อเห็ดฟาง ฟางข้าว ผ้ายางสำหรับคลุมกองหมัก ปรอทวัดอุณหภูมิ ถังสำหรับต้มน้ำอบเห็ดฟาง

เตาอบ (อุปกรณ์อบไอน้ำ)

ขั้นตอนการเตรียมโรงเรือน

- สร้างโรงเรือน ใช้ผ้าเขียวคลุมโรงเรือนและคลุมด้วยแสลนทับอีกชั้น

- ด้านในทำชั้นวางเป็นฝั่งละ ๓ แถว แถวละ ๔ ชั้น โดยการใช้ไม้รวกปูพื้นแต่ละชั้น

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง

1. นำกากเปลือกมันสำปะหลังผสมกับมูลสัตว์ รำอ่อน เปลือกถั่วเขียว ผักตบชวา และปุ๋ยยูเรียคลุกเคล้าให้เข้ากัน รดน้ำ และหมักทิ้งไว้ ประมาณ ๑๕ วัน

2. นำฟางข้าวไปปูรองพื้นแต่ละชั้นในโรงเรือน ความหนาประมาณ ๔ – ๕ นิ้ว

3. นำกากเปลือกมันสำปะหลังที่หมักไว้มาวางทับฟางข้าวเป็นชั้นลักษณะการปูหลังเต่าในโรงเรือน โดยสังเกตดูว่า

ถ้าส่วนผสมที่หมักไว้แห้งให้ทำการรดน้ำพอชุ่ม

4. ใช้เตาอบและถังต้มน้ำต่อท่อไอน้ำเข้าไปในโรงเรือน อบให้ได้อุณหภูมิ ๖๐ – ๗๐ องศาเซลเซียลและทิ้งไว้ ๑ วัน

5. นำเชื้อเห็ดฟางไปโรยบนชั้นที่เตรียมไว้แล้ว ( ๑ ชั้น / ๒๐ ก้อน )

6. รดน้ำพอประมาณ ปิดโรงเรือนทิ้งไว้ประมาณ ๗ วัน ใยเห็ดจะเริ่มเดินบนชั้น

7. ฉีดน้ำเพื่อตัดใยเห็ด แล้วปิดโรงเรือนทิ้งไว้ ๓ วัน โดยรักษาอุณหภูมิ ๒๘ – ๓๒ องศาเซลเซียส

8. เห็ดจะเริ่มออกดอกและเก็บได้ (ในช่วงนี้ให้เริ่มสังเกตอากาศ ถ้าร้อนก็ให้ระบายอากาศออกบ้าง

เพราะถ้าร้อนมากเห็ดจะเน่า)

9. เมื่อเก็บเห็ดหมดแล้วก็เก็บวัสดุที่ใช้แล้วออก

10. ล้างทำความสะอาดโรงเรือนเห็ด โรยปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วจึงลงเห็ดฟางรุ่นใหม่

เทคนิคการเพาะเห็ดฟางให้ดอกโต สมบูรณ์

1. ช่วงการเตรียมเชื้อเห็ดฟาง ให้ขยี้เชื้อเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วใส่ในภาชนะ ทุกๆ ๑ กิโลกรัมให้ผสมแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งข้าวเจ้าก็ได้จำนวน ๑ ช้อนโต๊ะ ผสมลงในเชื้อเห็ดคนให้เข้ากัน ก่อนนำเชื้อเห็ดฟางไปใช้เพาะด้วยวัสดุตามวิธีต่าง ๆ จะช่วยให้เชื้อราเห็ดเดินดีแข็งแรง

2. ในช่วงขั้นตอนที่ทำการเพาะเห็ด หลังจากนำเชื้อเห็ดใส่กับฟางหรือวัสดุเพาะอื่นๆแล้วตามปกติจะต้องใช้น้ำเปล่า

รดด้วยให้ชุ่ม ให้นำเครื่องดื่มชูกำลังจำนวน ๑ ฝา ผสมน้ำเปล่า ๕ ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วใช้น้ำดังกล่าวรดแทนการใช้น้ำเปล่าจำนวน ๑ ครั้ง เครื่องดื่มชูกำลังมีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูง จะเป็นตัวช่วยเสริมความแข็งแรงเชื้อราเห็ดและช่วยให้ดอกเห็ดสมบูรณ์โตเร็ว

Category
Etc.
Location
ภูมิปัญญาการเพาะเห็ดฟาง บ้านปรางค์เก่า
No. 69 Moo 13 บ้านปรางค์เก่า
Tambon กุดน้อย Amphoe Sikhio Province Nakhon Ratchasima
Details of access
Reference นางชุติมา แสงบำรุง
Organization สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสีคิ้ว
Tambon สีคิ้ว Amphoe Sikhio Province Nakhon Ratchasima ZIP code 30140
Tel. 081 8745743
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่