ชื่อนางแวแยนะ มะรอแมบ้านเลขที่ ๓/๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ๙๔๐๐๐ ประธานกลุ่มสาหร่ายผมนาง
ประวัติความเป็นมา
สาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร สาหร่ายสีแดงที่ชาวบ้านแถบอ่าวปัตตานีรู้จักกันในชื่อ “สาหร่ายผมนาง” พืชดั้งเดิมของท้องถิ่นที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวบ้านตลอดแนวอ่าวปัตตานีมาช้านาน
สาหร่ายผมนางนอกจากจะนำไปเป็นอาหารเพื่อการบริโภค ชาวบ้านตันหยงลุโละ หมู่ที่ ๒ ยังใช้เป็นอาหาร รวมถึงการใช้รักษาโรคบางชนิด แต่ส่วนใหญ่มักจะนำสาหร่ายมาบริโภคสดหรือนำไปยำเท่านั้น ทำให้ต้องหาทางเพิ่มมูลค่าของสาหร่ายด้วยการแปรรูปเป็นอาหารรูปแบบต่าง ๆ เช่น การทำเป็นข้าวเกรียบสาหร่ายกิ่งสำเร็จรูป จากพืชดังเดิมของท้องถิ่นกลายร่างเป็นการสร้างอาชีพที่มั่นคงยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านตันหยงลุโละ หมู่ที่ ๒
วัตถุดิบและส่วนประกอบในการทำยำสาหร่ายผมนาง
๑.สาหร่ายผมนาง ๒.กุ้ง
๓.ตะไคร้ ๔.หอมแดง
๕.พริกหยวก ๖.มะพร้าว
๗.น้ำปลา ๘.น้ำมะนาว
๙.น้ำตาลทราย ๑๐.พริกขี้หนูแดง,ใบชะพลู
ขั้นตอนการทำยำสาหร่ายผมนาง
๑.นำสาหร่ายผมนางมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นท่อนสั้น ๆ พักไว้
๒.นำน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลทราย พริกขี้หนู ผสมรวมกันชิมรส
๓.นำไปคลุกเคล้ากับสาหร่ายผมนางพักไว้
๔.น้ำกุ้ง ตะไคร้ซอย หอมแดง มะพร้าว พริกชี้ฟ้า นำไปคลุกเคล้ากับสาหร่ายผมนาง
๕.สาหร่ายผมนางที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมที่จะรับประทาน
๖.ตักใส่ใบชะพลู ทำเป็นคำ ๆ รับประทานได้ทันที
ประโยชน์ของสาหร่ายวุ้นที่สกัดจากสาหร่ายผมนางนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมแยม ขนมปัง เนย มายองเนส และลูกกวาด โดยเป็นตัวช่วยให้นิ่มและข้น ใช้ผสมในอาหารกระป๋อง ช่วยป้องกันสนิม ผสมเครื่องดื่ม เช่น ไวน์ เบียร์ ช่วยทำให้สีใสไม่ตกตะกอน
- ผลิตภัณฑ์ยา ใช้เป็นยาระบาย แคปซูลยา ใช้เลี้ยงแบคทีเรีย
- ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ใช้ผสมครีมและน้ำมันทาผิว
- ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและกระดาษ ใช้ย้อมเส้นด้วย เคลือบกระดาษทำกาว