ประวัติความเป็นมา
แกงตูมี่ เป็นแกงส้มของชาวจีนฮกเกี๊ยนในจังหวัดภูเก็ต มีที่มาจากชาวจีนฮกเกี๊ยนและชาวมุสลิมในประเทศมาเลเซียเนื่องจากชาวจีนฮกเกี๊ยนในประเทศมาเลเซียและชาวจีนในตำบลกะทู้จะไปมาหาสู่กันเสมอ เพราะที่ตำบลกะทู้เป็นแหล่งแร่ดีบุก มีชาวจีนจากมาเลย์มาทำเหมืองแร่กันมากมาย ชาวจีนบางคนได้แต่งงานกับชาวกะทู้และได้นำวัฒนธรรมต่างๆมาอบรมสั่งสอนลูกหลาน หนึ่งในนั้นก็คือวัฒนธรรมในการทำอาหารต่างๆ ถ่ายทอดอบรมสู่ลูกหลาน แกงตูมี่ก็เช่นเดียวกัน ชาวจีนได้ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน แต่ได้พัฒนาด้านรสชาติ เป็นเอกลักษณ์ของชาวกะทู้ ซึ่งแตกต่างจากของเดิมไปบ้างที่มีรสชาติเป็นมุสลิม ปนอยู่ คือ ผักชี ยี่หร่า และอื่นๆ ซึ่งชื่อแกงตูมี่ ในสี่จังหวัดภาคใต้ก็มี แต่มีลักษณะรสชาติต่างกันไป ส่วนที่จังหวัดภูเก็ต แกงตูมี่ จะมีเอกลักษณ์ รสชาติเป็นของชาวภูเก็ตโดยเฉพาะ
ลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
“แกงตูมี่” เป็นชื่ออาหารของชาวกะทู้ และจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นอาหารของชาวชาวไทยที่มีเชื้อสายจีนฮกเกี๊ยน ในตำบลกะทู้และตำบลใกล้เคียงของจังหวัดภูเก็ต ใช้สำหรับรับประทานกับข้าวสวย มีรสชาติ สามรส หวานนำตามด้วยเปรี้ยว และเค็มนิดหน่อย นิยมใช้ปลาสดๆในการปรุง มีผักผสมคือ ผักกระเจี๊ยบหรือถั่วลา ใช้สมุนไพรมากมายเป็นเครื่องแกง เมื่อปรุงเสร็จเรียบร้อย จะมีน้ำมันลอยคล้ายแกงกะทิ มีรสชาติหอมกลิ่นสมุนไพรชวนให้รับประทานซึ่งเป็นอัตตลักษณ์ของอาหารชาวกะทู้จังหวัดภูเก็ตใช้รับประทานกันเองในบ้าน หรือในงานเลี้ยงต้อนรับแขกหรือออกงานต่างๆ
ส่วนประกอบของเครื่องแกง และแกงตูมี่
- หัวหอม ๑๐หัว
- หัวกระเทียม ๑๐ กลีบใหญ่
- เกลือ ครึ่งช้อนโต๊ะ
- น้ำตาล ๒ช้อนโต๊ะ
- พริกสด ๑๕ ดอก
- พริกแห้ง ๑๕ ดอก
- ขมิ้นสด ๔ หัว
- ตะไคร้ ๕ต้น
- กะปิ ๑ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะขามเปียก ๑ถ้วย
- ใบมะกรูด ๑๐ใบ
๑๒. ถั่วลา๑๕ฝัก
- ปลาสด ๒ กก.
- น้ำมัน ๓ช้อนโต๊ะ
- น้ำสะอาด ๒ ถ้วย