ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 58' 0"
17.9666666666667
Longitude : E 104° 2' 42"
104.045
No. : 193088
ตำนานปู่อือลือ (ตำนานบึงโขงหลง)
Proposed by. buengkan_admin Date 31 August 2020
Approved by. buengkan_admin Date 12 September 2022
Province : Bueng Kan
0 2165
Description

ตำนานอือลือ (ตำนานบึงโขงหลง)

บึงโขงหลง บึงน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ถึงสองอำเภอ คือ อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอเซกา เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลาย ทางชีวภาพสูงมาก ปัจจุบันได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุมน้ำโลกอันดับที่ ๒ ของประเทศนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ยังเป็นที่ทำมาหากิน และตั้งรกราก ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับธรรมชาติ และยังเชื่อมโยงถึงสิ่งเหนือธรรมชาติ ผู้ให้กำเนิด หรือปกปักรักษาพื้นที่ อือลือ คือ สิ่งเหนือรรมชาติดังกล่าวที่เป็นที่พึ่งทางจิตใจ จึงเกิดเป็นประเพณีพิธีกรรม เลี้ยงปูอือลือเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ เพื่อเป็นการบอกกล่าว หรือ แก้บน โดยมี เครื่องเช่น ประกอบด้วย เหล้าไห ไก่ตัว หรือหัวหมูตามศรัทธาเอามารวมกัน โดยมีเฒ่าจ้ำเป็นผู้บอกกล่าวให้ได้รับทราบ เมื่อเสร็จพิธีชาวบ้านก็รับประทานอาหารร่วมกันที่ศาลปู่อือลือซึ่งความเชื่อนี้ยังโงไปถึงเรื่องราวที่มาของตำนานการเกิดของบึงโขงหลงอีกด้วย ปัจจุบันได้มีการจัดการท่องเที่ยวขึ้นโดยชุมช จึงมีผู้สืบสานเรื่องเล่านี้อีกครั้งเพื่อนำเสนอให้กับนักท่องเที่ยว ได้รับรู้เรื่องราวที่มาของบึงโขงหลง ในโอกาสนี้เราได้ฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับปูอือลือจากปากคำของ

คนรุ่นใหม่ คือ นาธีรวัฒน์ คำสุวรรณ ประชาสัมพันธ์โครงการนวัตวิถี การท่องเที่ยวบ้านคำสมบูรณ์

ได้เล่าเรื่องเล่าตำนานปู่อือลือ ดังความว่า

... "บริเวณแห่งนี้ (บึงโขงหลง) เดิมเป็นที่ตั้งเมืองชื่อ รัตพานคร มีพระอือลือราชาเป็นผู้ครองนคร มเหสีชื่อนางแก้วกัลยา มีพระธิดาชื่อพระนางเขียวคำ ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้า

สามพันตา มีพระโอรสชื่อเจ้าชายฟ้ารุ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด และมีพระสิริโฉมงดงาม

ขณะประสูติเกิดปรากฏการณ์ท้องฟ้าสว่างไสวไปทั่ว

เมื่อเจริญวัย เจ้าชายฟ้ารุ่งได้พรักกับนานาครินทรนี ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาคราช

ที่แปลงร่างเป็นมนุษย์ หลังจากได้พบรักกันก็ได้จัดงานอภิเษกสมรสทั้งเมืองบาดาลและเมืองมนุษย์

ทำอยู่ ๗ วัน ๗ คืน พญานาครา จึงได้จัดเครื่องราชกกุธภัณฑ์เพื่อมากำนันต่อพระเจ้าอือลือราชา

ทั้งสองอยู่กินกันมาเป็นเวลา ๗ ปี ก็ไม่สามารถจะมีผู้สืบสายสกุลได้ นางนาครินทรานีคิดมาก เป็นสาเหตุให้นางล้มป่วยลง มนต์ที่แปลงเป็นมนุษย์ก็เสื่อมลง ทำให้กลายร่างเช่นเดิม เมื่อพญาอือลือทราบ และข่าวนี้ได้แพร่สะบัดออกไป พญาอือลือจึงส่งตัวนางกลับ ถึงแม้นางจะร่ายมนต์กลับเป็นมนุษย์เหมือนเดิมแล้ว แต่ชาวเมืองและพระเจ้าอือลือก็ยังไม่พอใจ เพราะเห็นว่ามนุษย์กับนาคไม่ควรสมสู่กัน ทำให้พระยานาคราชไม่พอใจ จึงได้ขึ้นมาทวงทรัพย์สมบัติที่เคยได้มอบให้กับพญาอือลือแต่ปรากฏว่าพญาอือลือไม่สมารถคืนให้ได้ เพราะได้นำทรัพย์สมบัติเหล่านั้นไปรวมกันแล้ว ทำให้

แกแยะไม่ได้ว่าอันไหนเป็นของพญานาค อันไหนเป็นของเมืองรัตตพานคร ทำให้พญานาคราช

กริ้วมาก พอตกกลางคืนพญานาคได้นำไพร่พลขึ้นมาถล่มเมืองรัตตพานคร จนจมลงไป เหลือแต่เพียง 3 วัด ที่พญานาคไม่ได้ถล่ม คือ วัดตอนแก้ว (วัดแก้วฟ้า) วันดอนโพธิ์ (วัดโพธิ์ศรี) และวัตคอนสวรรค์ (วัดแดนสวรรค์)

พอนางนาครินทรานีทราบข่าว ก็ขึ้นมาตามหาเจ้าชายฟ้ารุ่ง หาอย่างไรก็ไม่พบ ก็ได้เดินไปตามลำห้วย ต่อมาลำห้วยนั้นได้ชื่อว่า น้ำเมา (เมาในความรัก) ซึ่งเป็นทางเชื่อมที่จะไปยังแม่น้ำสงคราม ลงไปสู่แม่น้ำโขง

ส่วนพระอือลือราชาไม่ได้สิ้นพระขนไปกับเหตุการณ์นี้ด้วย แต่ถูกพระยานาคราชจับตัวไว้

พร้อมกับสาปให้พระอือลือราชากลายร่างเป็นนาด เฝ้าอยู่ในบึงโขงหลงชั่วนิรันดร์ จนกว่าจะมี

เมืองเกิดใหม่ในดินแตนแห่งนี้ที่มีความเจริญเทียบเท่เมืองรัตพานคร จึงจะล้างคำสาปของ

พญานาคราชได้....

Location
บึงโขงหลง
Amphoe Bueng Khong Long Province Bueng Kan
Details of access
Reference นาฎนภา ผลจันทร์ Email bkcul@hotmail.co.th
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่