วัดพายัพ เป็นพระอารามหลวงเก่าแก่ ของจังหวัดนครราชสีมา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๐ วัดเเห่งนี้ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ(ทิศพายัพ) ของเมืองนครราชสีมา จึงตั้ง ชื่อว่า “วัดพายัพ” โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองนครราชสีมา จึงมีฐานะ วัดพายัพ เป็นพระอารามหลวงมาแต่แรก แต่เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง วัดพายัพจึงขาด สถานะจากวัดหลวงเมื่อคราวที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุง และกลายเป็นวัดราษฎร์เรื่อยมา ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงมีการสถาปนาพระอารามหลวงขึ้นใหม่ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) โปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ วัดพายัพ เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ ๑๕ ไร่ ๖๙ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๒๔๐ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ปัจจุบันมีพระมหาพงศ์เชฏฐ์ ธีรวโส เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพายัพ พระอารามหลวง สิ่งที่น่าสนใจ พระอุโบสถหินอ่อน แต่เดิมพระอุโบสถ ของวัดพายัพมีลักษณะก่ออิฐถือปูน หลังคา เครื่องบนเป็นไม้ มีส่วนฐานก่อเป็นแนวโค้งแบบหย่อนท้องช้าง (หย่อนท้องสำเภา) ในแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย มีลูกนิมิตเป็นใบเสมาคู่รอบ แต่เนื่องจากพระอุโบสถมีสภาพที่ชำรุด ทรุดโทรมจนไม่สามารถบูรณะซ่อมแซมได้ ทางวัดจึงได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทน โดยสร้างเป็นสถาปัตยกรรมประยุกต์ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีส่วนฐานก่อเป็นแนวโค้ง แบบหย่อนท้องช้าง (หย่อนท้องสำเภา) โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับหินอ่อน และหินแกรนิตทั้งหลัง สร้างขึ้นเพื่อให้เป็น ปริศนาธรรมที่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นวัฏสงสาร พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูป ปางปฐมเทศนาประทับนั่งห้อยพระบาทแบบยุโรป ซึ่งจำลองแบบมาจากพระพุทธรูปในถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อด้วยอิฐถือปูนจัดสร้างเพื่อประกาศพระเกียรติคุณ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาขึ้น ถ้ำหินงอกหินย้อย สร้างขึ้นจากดำริ ของพระราชวิมลโมลี อดีตเจ้าอาวาสวัดพายัพ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๕ โดยภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณที่รวบรวมจากทั่วทั้งเมืองนครราชสีมา หอพระธรรมจักร อาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก ทรงไทยประยุกต์รูประฆัง ยอดโดม ท่องเที่ยววัดเก่าแก่ของจงหวัด มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ 19 ประดับวงล้อธรรมจักร เพื่อประกาศว่าวัดพายัพ เป็นศูนย์กลางประกาศพระธัมมจักรกัปปวัตตนสูตรและพระพุทธศาสนาของเมืองนครราชสีมา