ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : - Longitude : -
No. : 194428
วัดช่างทอง
Proposed by. พัทลุง Date 9 September 2021
Approved by. พัทลุง Date 5 January 2023
Province : Phatthalung
0 646
Description

วัดช่างทอง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๖ กิโลเมตร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๓ งาน ๕๐ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือ ยาว ๔ เส้น ทิศใต้ยาว ๔ เส้น ทิศตะวันออกยาว ๔ เส้น ๑๐ วา ทิศตะวันตกยาว ๔ เส้น ติดต่อกับถนนสาธารณะ

วัดช่างทอง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เดิมเรียกวัดนี้ว่า “วัดช้างทอง” เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามหลักฐานในทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุง ของพระครูอริยสังวร (เอียด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วันช่างทอง เนื่องจากนายช่างทองนี้เป็นผู้ที่ทำมาหากินอยู่ในหมู่บ้านและเป็นผู้นำในการสร้างวัดนี้ขึ้นมา จึงได้เรียกบ้านชื่อว่า บ้านช่างทอง

วัดช่างทอง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗

ศาสนสถาน

๑. อุโบสถ

เป็นอาคารฐานก่อด้วยอิฐถือปูน เสาและเครื่องบนสร้างด้วยไม้หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ดินเผา ภายในมีพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย ๑ องค์ ศิลปะฝีมือช่างพื้นบ้านสมัยรัตนโกสินทร์ ด้านหน้าพระประธานมีพระพุทธรูปจำหลักหินอ่อนปางมารวิชัย ศิลปะแบบพม่า ๑ องค์

๒. ศาลาการเปรียญ

เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนฐานต่ำเครื่องบนสร้างด้วยไม้ ภายในมีพระประธาน ปูนปั้น ๓ องค์ ปางมารวิชัย ฝีมือช่างพื้นเมือง ด้านหลังของพระประธานมีพระพุทธรูปปูนปั้นชำรุด ๒ องค์ ฝีมือช่างพื้นเมือง ลักษณะสวยงาม ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดภายในศาลาการเปรียญหลังนี้ ได้แก่ พระพุทธรูป ๒ องค์ ซึ่งนำมาจากวัดสนฑาโท (ร้าง) ตำบล นาปะขอ เมื่อประมาณ ๗๐ ปีมาแล้ว พระพุทธรูปองค์ที่ ๑ ชาวบ้านเรียกว่า “พ่อท่านเฒ่า” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง ห่มจีวรเฉียง ไม่มีสังฆาฏิ พระศกและพระเกตุมาลาชำรุด พระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยมเล็กน้อย มีไรพระศกเป็นเส้นเล็กๆ แบบศิลปะอยุธยาชาวบ้านนับถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาก มีขนาดสูงจากฐานถึงพระเศียร ๘๘ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๔๐ เซนติเมตร พระพุทธรูปองค์ที่ ๒ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย ประทับนั่งบนดอกบัว พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมมีไรพระศกเป็นเส้นเล็ก พระเกตุมาลาและพระศกหักหายไปสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระอุทรพลุ้ยแบบพระสังกัจจายนะ จึงเข้าใจว่าพระพุทธรูปองค์นี้น่าจะเป็นพระสังกัจจายนะมากกว่ารูปพระพุทธเจ้า มีขนาดสูงรวมทั้งฐานบัว ๔๙ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๓๐ เซนติเมตร ศิลปะสมัยอยุธยา

๓. พระพุทธรูปหล่อสำริด

พระพุทธรูป จำนวน ๒ องค์ เก็บไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาส เดิมมีจำนวน ๓ องค์ ให้ทาง วัดตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุงไป ๑ องค์ ทั้ง ๓ องค์ มีลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นพระพุทธรูปศิลปะพม่าปางมารวิชัย ประดับนั่งชัดสมาธิเพชร องค์แรกมีขนาดหน้าตัก กว้าง ๒๖ เซนติเมตร สูง ๔๓ เชนติเมตร ที่ฐานมีจารึกไรว่า “คุณจรสร้างพระปฏิมากร พ.ศ.๒๔๔๒” องค์ที่ ๒ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๕ เซนติเมตร สูง ๔๓ เซนติเมตร นอกจากนี้แล้วทางวัดยังเก็บรักษาสมุดข่อย คัมภีร์พระมาลัย พระอภิธรรมไว้หลายฉบับและพระพุทธรูปจำหลักไม้แบบทรงเครื่องใหญ่ ๑ องค์ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์แต่อยู่ในสภาพชำรุดมาก

เจ้าอาวาสปัจจุบัน ชื่อ พระครูนิวิฐสุวรรณการ

Category
Religious place
Location
วัดช่างทอง
No.Moo
Tambon นาปะขอ Amphoe Bang Kaeo Province Phatthalung
Details of access
ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๓.(๗๒๔).กรุงเทพ.โรงพิมพ์การศาสนา.
Reference นางสาวจิตตรา จันทรโชติ
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง Email culture-phatthalung@hotmail.com
Road ราเมศวร์
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung ZIP code 93000
Tel. ๐๗๔๖๑๗๙๕๘ Fax. ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
Website https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่