ตำนานห้องถิ่นเล่ากันมาว่าขุนศรีศรัทธา
ซึ่งซาวบ้านตำบลท่าแค เรียกชื่อโนราโรงครูใหญ่วัดท่าแคว่า "โรงครูขุนหา" เพราะเชื่อกันว่าวัดท่าแคหรือบ้านท่าแคเป็นที่อยู่ของขุนศรีศรัทธาและครูโนราคนอื่น ๆคำว่า "ขุนศรีศรัทธา" ไม่ได้เป็นชื่อบุคคล แต่เข้าใจว่าเป็นชื่อตำแหน่งดังเจ้าชายน้อย เมื่อรำโนราถวายท้าวโกสินทร์ซึ่งเป็นพระอัยกาก็ได้รับยศเป็นที่ขุนศรีศรัทธา เดิมใครได้เป็นโนราใหญ่ก็น่าจะเรียกขุนหาแล้วต่อด้วยชื่อตัว เช่น ศรัทธาเทพ ศรัทธาราม ศรัทธาขุ้ย ศรัทธานาปรือ เป็นต้น
ส่วนโนราแปลก ชนะบาล กล่าวว่า ศรัทธาท่าแค เป็นคนคนเดียวกับพ่อเทพสิงหร แต่คนละภาค ดังบทว่า ศรัทธาท่าแค ถัดแต่พ่อเทพสิงหร ชาวบ้านตำบลท่าแคและคณะโนราเชื่อว่าขุนศรัทธานั้น มีศรัทธาเทพหรือเทพสิงหร ศรัทธาแย้ม เป็นผู้สร้างวัดโคกแย้ ศรัทธารามเป็นผู้สร้างวัดอภยราม ศรัทธาเกลาบ้านนาปรือ
จากตำนานโนราพอสรุปได้ว่า ขุนศรีศรัทธาหรือขุนศรัทธาท่าแค ก็คือ เจ้าชายน้อยโอรสของนางศรีคงคาหรือนางศรีมาลา หรือนางนวลทองสำลีที่ถูกพระบิดาเนรเทศลอยแพ และได้ไปอาศัยอยู่ที่เกาะกะชังจนนางให้กำเนิดโอรสแล้วตั้งชื่อว่า เจ้าชายน้อย เจ้าชายน้อยได้ฝึกหัดรำโนรากับพระมารดาจนชำนาญ ภายหลังได้เดินทางกลับบ้านเมืองของตน คือ เมืองพัทลุง และได้มีโอกาสเข้ารำโนราถวายพระอัยกา พระอัยกาพระราชทานเครื่องต้นสำหรับกษัตริย์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวโนรา และตั้งเจ้าชายน้อยเป็นขุนศรีศรัทธา เมื่อเจ้าชายน้อยได้เป็นขุนศรีศรัทธาแล้วก็ได้มา ควบคุมอาณาบริเวณการเกษตรใหญ่ อันเป็นท้องของกองพับ ณ ดินแดนตรงที่เรียกว่า ท่าแค เป็นศูนย์กลางการเกษตร ควบคุมกองทัพช้างที่คชรัฐ และควบคุมการเคลื่อนไหวของทมิฬนครด้วย ณ ที่แห่งนี้การฝึกหัดรำโนราและการสืบทอดโนราก็เกิดขึ้น
ดังปรากฏหลักฐานทั้งที่เป็นวัตถุสถานที่ ตำนานที่เกี่ยวข้องกับขุนศรีศรัทธาและโนราตามความเชื่อของชาวบ้านตำบลท่าแค ในเขตตำบลท่าแค และบริเวณใกล้เคียง เช่น โคกขุนหา เขื่อนขุนทา อ่างขุนหา ฯลฯ และการจัดโนราโรงครูเพื่อรำถวายครูโนราที่เคารพนับถือมาจนทุกวันนี้